จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในทุกภาคส่วน หลายองค์กรเริ่มให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้ เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และเพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ (Business Continuity) โดย concept ของการ Work anywhere on any devices เริ่มมีมาซักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ในช่วงนี้ ยิ่งทำให้การทำงานผ่านระบบต่างๆที่อยู่บน Cloud มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ผู้ให้บริการ Cloud platform ระดับโลกอย่าง Microsoft ได้ออกมาเปิดเผยว่า การใช้งาน Cloud ในช่วงนี้ มีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 775% อันเนื่องมาจากสาเหตุที่หลายประเทศเริ่มบังคับใช้นโยบาย Social distancing ให้ประชาชนงดการออกมาทำกิจกรรมข้างนอกเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยเฉพาะการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานผ่านระบบการประชุมออนไลน์อย่าง Microsoft Teams ในเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา
รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในการประชุมออนไลน์อย่าง Cisco Webex ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน กว่า 30% ของลูกค้าองค์กรเริ่มมีการให้พนักงานสามารถ Work from Home ได้ จึงส่งผลให้การใช้งานแพลตฟอร์ม Cisco Webex เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2,000%
นอกจากสาเหตุหลักจากการที่องค์กรต่างๆ เริ่มให้พนักงานสามารถ Work from Home ได้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดการใช้งานบน Cloud เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น
การ Social distancing ทำให้ทุกคนต้องแยกตัว บางคนอาจต้องอยู่ห่างจากครอบครัว จึงไม่ใช่แค่เพียงภาคธุรกิจที่ต้องการเครื่องมือที่ให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานร่วมกันจากที่บ้านได้เท่านั้น แต่หลากหลาย Application ที่ช่วยคนผู้คนสามารถ Video call หากันได้อย่าง Line, Microsoft Teams, Google Hangouts, Zoom ก็เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
รูปแบบของการจัดงานที่เปลี่ยนไป
การจัดงาน Event ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก เริ่มถูกยกเลิก หรือห้ามจัด จึงก่อให้เกิดการจัดงานในรูปแบบ Online event หรือ Webinar แทน ซึ่งบน Cloud ก็มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในการทำ Webinar มากมายให้เลือกใช้ หรือถ้าหากผู้จัดงานอยากให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับบรรยากาศเสมือนจริง ก็อาจจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่เปิดให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าชมในรูปแบบ Virtual Tour หรือการเที่ยวแบบเสมือนจริงผ่านทางเวบไซต์ เป็นต้น
ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแต่ต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ในช่วงวิกฤตการณ์แบบนี้ ข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อสถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ การบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยระบบในการประมวลผลที่ใหญ่และมีเสถียรภาพ ซึ่งบน Cloud มีแพลตฟอร์มที่พร้อมใช้งานในการทำ Big Data Analytics ให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยน
การที่ทุกคนหยุดอยู่บ้าน ทำให้วิถีชีวิตของหลายคนเปลี่ยนไป เมื่อไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อของตามห้างสรรพสินค้าได้ ผู้คนต่างหันมาใช้บริการ Delivery services แทน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร สั่งของใช้ Application Online shopping ต่างหันมาออกโปรโมชั่น เพื่อให้คนสามารถตัดสินใจซื้อผ่านออนไลน์ได้สะดวกขึ้น รวมถึงแพลตฟอร์ม Entertainment ต่างๆ ก็เริ่มมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Netflix, TikTok เป็นต้น
ในภาคธุรกิจ หลังจากสถานการณ์นี้ คาดว่าจะมีองค์กรจำนวนมากที่จะเริ่มประยุกต์ใช้บริการ Cloud ในการวางแผนระบบ IT ทั้งในแผน BCP (Business Continuity Plan) และในแผนระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการย้ายระบบบางส่วนจาก On-premise ให้ไปอยู่บนระบบ Cloud หรือทำเป็นลักษณะของ Hybrid Infrastructure โดยข้อดีของระบบ Cloud ก็คือ สามารถขยายระบบได้อย่างทันท่วงที รองรับการเพิ่ม-ลดของการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในระยะยาว หลายบริษัท จะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรสามารถติดต่อสื่อสาร และทำงานร่วมกันจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศมากขึ้น
สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการปรึกษาการประยุกต์ใช้ Cloud หรือสนใจใช้บริการ Cloud จาก AIS สามารถติดต่อได้ที่ Cloud Solution Sales sc-clss@ais.co.th
หรือดูรายละเอียดได้ที่ https://business.ais.co.th/workingfromhome/#solutions
วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2563
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business