เตรียมพร้อมสู่ยุค Smart Manufacturing ด้วยโซลูชันเทคโนโลยี 5G จาก AIS Business

ป็นที่รู้กันว่าตอนนี้เทคโนโลยี 5G ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีความสามารถใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นความเร็วที่สูงขึ้นกว่า 20 เท่า พร้อมกับความหน่วงต่ำ (Low Latency) ระดับน้อยกว่า 20 มิลลิวินาทีที่มีความเสถียรและครอบคลุมได้ทั่วตามที่ต้องการในพื้นที่ใช้งาน รวมทั้งความสามารถในการทำ Network Slicing ที่บริหารจัดการคุณสมบัติทางเครือข่ายได้ตามความต้องการในแต่ละแอปพลิเคชัน และถ้าหากต้องการใช้งานเป็น MEC (Multi-Access Edge Computing) หรือ Private Network ในปัจจุบันทางผู้ให้บริการต่าง ๆ ก็มีโซลูชันรองรับได้ทุกรูปแบบที่ต้องการใช้งานแล้ว

ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี 5G ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงได้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบ Smart Manufacturing มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มมีการปรับใช้โซลูชันใหม่ ๆ ที่ทำให้สายการผลิตมีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม หรือว่าสามารถตรวจสอบติดตามสถานะเครื่องจักร บำรุงรักษาได้จากระยะไกล เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือจุดเริ่มต้นของการไปสู่ Industry 4.0 ที่กำลังจะเดินต่อไปในอนาคต และในบทความนี้เอง ทาง TechTalkThai จะขอยกกรณีศึกษาและโซลูชันที่ทาง AIS Business ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ไม่ว่าจะเป็น ZTE, OMRON, Mitsubishi Electric, TKK และ Schneider Electric สำหรับการปรับเป็น Smart Manufacturing ที่มีการใช้งานจริงแล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ท่านผู้อ่านเกิดเป็นไอเดียในการสร้างโซลูชันใหม่ ๆ หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจของท่านได้ไม่มากก็น้อย

เส้นทาง 5G กับ Smart Manufacturing จาก ZTE

ZTE มีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยี 5G ในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ตามการขยายตัวของโครงข่าย 5G ทั่วพื้นที่ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้านับจากนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็น Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ หากแต่ก็ยังคงมีความท้าทายทางอุตสาหกรรมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่กระจายตัวไปในแต่ละอุตสาหกรรม ความสมดุลระหว่างความน่าเชื่อถือกับต้นทุน รวมทั้งอุปสรรคในด้านความร่วมมือกับต่างอุตสาหกรรม

ด้วยเหตุนี้ ZTE จึงได้ออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) บนเทคโนโลยี 5G เพื่อเสริมศักยภาพทางดิจิทัลให้แก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยมุ่งเน้นในการสร้างมูลค่าในหลากหลายธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการของตลาดและการประยุกต์ใช้งานได้จริงด้วยการขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยตัวอย่างที่ทาง ZTE ได้ทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่

  • 5G + MEC Machine Vision ที่มีการใช้ระบบ AI ช่วยในงานที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเช่นการตรวจสอบสินค้าที่ชำรุด การนับจำนวนชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานไปได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังมีความแม่นยำมากกว่าเดิมด้วย
  • 5G + Natural Navigation AGV การใช้รถขนส่งอัตโนมัติแบบไร้คนขับเพื่อช่วยเรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการประยุกต์ใช้ 5G นั้นทำให้สามารถลดต้นทุนลงไปได้อย่างมาก และทำให้การขนส่งมีความยืดหยุ่น อีกทั้งลดปัญหาการชนกันลงไปได้
  • 5G + UHD Video ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่รองรับแบนด์วิดท์ได้สูง จึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการจากระยะไกล (Remote Operation) ได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้เกิดเป็นโซลูชันควบคุมจากระยะไกล หรือโซลูชันหุ่นยนต์ตรวจตราที่สามารถส่งภาพระดับ 4K HD กลับมาตรวจสอบได้
  • 5G + Cloud PLC ระบบควบคุมสายการผลิตที่สามารถปรับปรุงได้อย่างยืดหยุ่น โดยที่ Cloud PLC เพียงชุดเดียวสามารถทดแทน PLC แบบดั้งเดิมได้อย่างมาก อีกทั้งยังสะดวกในการขยายหรือปรับเปลี่ยนผ่านคลาวด์ หรือทำ Offline Simulation ได้อย่างรวดเร็ว
  • 5G + Industrial Park Platform ทำให้โรงงานสามารถมองเห็นภาพรวมที่สามารถบริหารจัดการและควบคุมได้สะดวก เนื่องด้วยโครงข่าย 5G ที่ทำให้สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อกับทุก ๆ อุปกรณ์ จึงทำให้สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และทำนายสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตและช่วยให้มนุษย์ตัดสินใจได้รวดเร็วแม่นยำยิ่งขึ้น

อีกกรณีหนึ่งที่ทาง ZTE ได้มีการทดสอบร่วมกับ AIS Business ก่อนหน้าในปีนี้ คือที่โรงงานยาวาต้า (Yawata) ผู้ผลิตลวดเชื่อมคุณภาพสูง ด้วยการใช้งาน 5G Private Network ร่วมกับ NodeEngine จึงสามารถเปลี่ยนโฉมโรงงานแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะที่มี Latency ต่ำกว่า 10 มิลลิวินาทีได้สำเร็จ 

OMRON กับการควบคุมสายการผลิตได้อย่างยืดหยุ่น

การผนึกกำลังกันระหว่าง OMRON กับ AIS Business นั้นถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำให้เกิดโซลูชัน Smart Manufacturing ที่ครบวงจร ด้วยความเชี่ยวชาญด้านระบบ Automation ในโรงงานของ OMRON กับทาง AIS  Business ที่เชี่ยวชาญในการจัดการข้อมูลองค์กรนั้น จึงทำให้เกิดโซลูชันที่ตอบรับการเป็น Industry 4.0 ได้อย่างตรงจุด

โดยทาง OMRON สามารถจัดส่งข้อมูลจากเครื่องจักรในสายการผลิตต่าง ๆ กับเครือข่าย 5G ของ AIS ในการทำระบบวิเคราะห์ข้อมูล จึงทำให้เห็นภาพรวมของสายการผลิต รวมทั้งสามารถหา Insight บางอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อบริหารจัดการสายการผลิตได้ดีขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปสร้างเป็นแผนภาพเพื่อนำเสนอในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้อีกด้วย 

ตัวอย่าง Use Case ที่เริ่มใช้งานแล้วจริงแล้วจากความร่วมมือกันระหว่าง OMRON กับทาง AIS Business นั้นคือระบบ Layout-free Production Line ที่สายการผลิตภายในโรงงานจะไม่ถูกจำกัดตาม Layout ที่วางไว้อีกต่อไป ด้วยการใช้หุ่นยนต์ Autonomous Mobile Robot (AMR) ร่วมกับโครงข่าย 5G จึงทำให้หุ่นยนต์ AMR สามารถกำหนดปรับเปลี่ยนเส้นทางการวิ่งได้อย่างยืดหยุ่น โดยรูปแบบหนึ่งที่นำไปปรับใช้แล้วคือการลำเลียงส่งสิ่งของภายในโรงงานได้อัตโนมัติโดยที่ปราศจากมนุษย์เข้าไปแทรกแซง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบติดตามย้อนหลังได้หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นเนื่องจากจะมีการเก็บข้อมูลจากฝั่ง Operational Technology (OT) มาเก็บไว้ที่ฝั่ง Information Technology (IT) อยู่ตลอดนั่นเอง

Smart Remote Factory ด้วยโซลูชันจาก Mitsubishi Electric x TKK 

ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน จึงส่งผลให้ทุกธุรกิจจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางที่ทำให้สามารถทำงานได้จากทุกหนทุกแห่ง ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเรียกได้ว่ามีความท้าทายอย่างมาก ในการทำให้สามารถควบคุม บำรุงรักษา ตรวจสอบและติดตามการทำงานของเครื่องจักรได้จากระยะไกลโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่โรงงาน

ด้วยโซลูชัน e-F@ctory จากทาง Mitsubishi Electric กับผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่าง TKK และผู้ให้บริการ 5G ที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยอย่าง AIS Business จึงทำให้เกิดเป็นโซลูชัน Smart Manufacturing ที่สามารถยกระดับระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ (Factory Automation : FA) ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ฝั่ง OT เข้ากับ IT ไปอีกขั้นผ่านเครือข่าย 5G ที่มีความรวดเร็วและมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยความร่วมมือนี้จึงทำให้เกิดโซลูชันการทำงานจากระยะไกลสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงแล้ว ดังนี้

  • Remote Monitoring การตรวจสอบสถานะสายการผลิตของเครื่องจักรได้จากระยะไกล
  • Remote Maintenance การสนับสนุนทีมงานซ่อมบำรุงในการตรวจสอบและแก้ไขกรณีเครื่องจักรทำงานผิดพลาดได้จากระยะไกล ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าไปในพื้นที่ที่อันตรายได้
  • Remote Development ที่สนับสนุนการการทำงานร่วมกันระหว่างหลาย ๆ โรงงานได้จากระยะไกลโดยไม่ต้องเข้าไปที่สถานที่จริง สนับสนุนให้เกิดทำงานได้อย่างต่อเนื่องจากทุกหนทุกแห่ง
  • Remote Service การให้บริการให้คำปรึกษาบริการจากระยะไกล โดยที่ตัวพนักงานจริง ๆ ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่โรงงาน

จะเห็นได้ว่าโซลูชันแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทั้ง 3 องค์กรนี้สามารถตอบโจทย์กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ที่ทำให้การทำงานจากระยะไกลในฝั่งภาคอุตสาหกรรมการผลิตในรูปแบบต่าง ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Schneider Electric กับระบบบริหารจัดการพลังงาน 

เป็นที่รู้กันว่าปัญหาการขาดแคลนพลังงานนั้นคือเรื่องที่สำคัญของโลกแล้ว ณ ตอนนี้ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้นยังคงจำเป็นต้องใช้งานพลังงานอย่างมหาศาลในสายการผลิตต่าง ๆ อีกทั้งพลังงานที่ใช้ยังเป็นต้นทุนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากวัตถุดิบที่ใช้ในสายการผลิตด้วย ดังนั้นการบริหารจัดการพลังงานในสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจึงเรื่องที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทาง Schneider Electric คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่สามารถตรวจสอบติดตามพลังงานได้ทุกรูปแบบที่ไม่ใช่แค่พลังงานไฟฟ้าเท่านั้น และด้วยความร่วมมือกับทาง AIS Business จึงทำให้เกิดการใช้งานระบบ EcoStruxure ร่วมกับเครือข่าย 5G ที่สนับสนุนให้โซลูชันต่าง ๆ สามารถตรวจสอบและควบคุมพลังงานได้ผ่านระบบ IoT ผ่านเครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Building Advisor, Workplace Advisor หรือ Resource Advisor นั้นสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ความร่วมมือจาก 2 องค์กรยังทำให้เกิดโซลูชันอื่น ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่จะทำให้สายการผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและพร้อมใช้งานได้จริงแล้ว ได้แก่

  • Machine Advisor (MA) คือระบบแสดงผลข้อมูลที่สามารถตรวจสอบติดตามสถานะประสิทธิภาพของอุปกรณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อนำผลไปใช้ปรับปรุงให้เครื่องจักรสามารถดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
  • Augmented Operator Advisor (AOA) คือระบบแสดงข้อมูลหรือวัตถุแบบ Real Time ซ้อนทับบนเครื่องจักร โดยเทคนิค Augmented Reality ซึ่งสามารถใช้งานบนอุปกรณ์แท็ปเล็ต ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับผู้ปฎิบัติงานได้มากขึ้น  
  • Secure Connect Advisor (SC) คือระบบบนเครื่องจักรที่สนับสนุนการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์เครื่องจักรผ่านเครือข่ายไร้สาย จึงทำให้สามารถเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรออกมาวิเคราะห์ต่อได้อย่างรวดเร็ว

บทส่งท้าย

จากโซลูชันที่เกิดขึ้นใหม่มากมายเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกความก้าวหน้าในการไปสู่ยุค Smart Manufacturing และ Industry 4.0 มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่เกิดความร่วมมือระหว่าง AIS Business กับพาร์ทเนอร์มากมายเช่นนี้ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ท่านผู้อ่านคงจะได้เห็นโซลูชันและนวัตกรรมเกิดใหม่ขึ้นอีกมากมายที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเดินหน้าไปสู่ยุค Smart Manufacturing ได้อย่างสมบูรณ์ 

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ของทาง AIS Business ได้เป็นอย่างดีว่ามีความพร้อมและใช้งานได้จริงแล้วในภาคอุตสาหกรรมการผลิตปัจจุบัน และสำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจโซลูชันใด ๆ ของ AIS Business สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่านหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล business@ais.co.th ได้เลย

วันที่เผยแพร่ 10 มกราคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business