5G Intelligent Connectivity: โอกาสใหม่เพื่อพลิกโฉมการทำ Digital Transformation ด้วย 5G สำหรับธุรกิจองค์กร

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความพร้อมด้านระบบโครงข่าย 5G สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการสนับสนุนจากภาครัฐ, หน่วยงานกำกับดูแล, กลยุทธ์การลงทุนและการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างเหล่า Mobile Operator ภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยนี้เองได้ทำให้เกิดโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรไทยที่จะได้คว้าโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือบริการในรูปแบบใหม่ๆ บน 5G ได้ก่อนธุรกิจอื่นทั่วโลก และก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านนี้ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ดี การนำ 5G มาใช้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งสำหรับการสร้างสรรค์เทคโนโลยีนั้น ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงแนวโน้มของ Application และ Network Infrastructure ในอนาคตเสียก่อน ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร มีคุณสมบัติใด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อทำลายข้อจำกัดที่มีอยู่เดิมได้บ้าง

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับสถาปัตยกรรมของ Application แห่งอนาคต ด้วยการผสาน 5G กับการประมวลผล Cloud ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้ระบบเครือข่ายของธุรกิจนั้นกว้างขวางและครอบคลุมได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

Application แห่งอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?

ทุกวันนี้เราอาจคุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมของระบบ Application ที่อยู่บน Cloud ซึ่งกำลังกระจายตัวไปอยู่บนบริการที่หลากหลาย ก้าวสู่การเป็น Multi-Cloud กันเป็นหลัก

แต่ในอนาคต Application นั้นจะยิ่งมีการกระจายตัวมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ 5G นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบโครงข่ายที่ให้บริการสัญญาณเชื่อมต่อ Internet เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมด้านการประมวลผลภายในโครงข่ายโดยตรง ซึ่งจะทำให้การรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลนั้นเกิดขึ้นได้แบบกระจายตัวยิ่งขึ้น ด้วย Latency ที่ต่ำลง และสามารถสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากกว่าการใช้งานเพียงแค่ Cloud เช่น

  • Autonomous Vehicle ระบบยานยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องการการรับส่งข้อมูลความเร็ว 50Mbps โดยมีการตอบสนองภายใน 1ms เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
  • Public Safety ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 10Mbps สำหรับวิดีโอ และการตอบสนองภายใน 20ms เพื่อให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ
  • AR/VR ระบบความจริงเสมือนที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 1Gbps เพื่อส่ง 3D Content ไปยังผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีการตอบสนองภายใน 20ms เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้แก่ผู้ใช้งาน
  • Robot/Automation ระบบหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 1-10Mbps เพื่อส่งข้อมูลจาก Sensor ไปประมวลผล และต้องการการตอบสนองภายใน 1ms เพื่อให้การควบคุมหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรเป็นไปได้อย่าง Real-Time และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยรอบ
  • Telemedicine ระบบพบแพทย์ทางไกล ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 50Mbps สำหรับส่งข้อมูลวิดีโอและเสียงคุณภาพสูงสำหรับการตรวจรักษา และต้องการการตอบสนองภายใน 10ms เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างราบรื่น

จะเห็นได้ว่าจุดร่วมของ Application เหล่านี้ คือการที่มีการใช้งานข้อมูลปริมาณมหาศาลภายในระบบ และต้องการการตอบสนองในแบบ Real-Time ซึ่งที่ผ่านมาถึงแม้ Cloud จะตอบโจทย์ในประเด็นแรกได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นหลังได้ครอบคลุมทุกกรณีนัก โดยเฉพาะกรณีที่ต้องมีการตอบสนองไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลจาก Cloud หรือ Data Center

ตัวอย่างเหล่านี้สอดคล้องกับแนวโน้มของ Application แห่งอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่ 3 ทิศทางด้วยกัน ได้แก่

  1. Application Localization การพัฒนา Application เพื่อตอบสนองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกจริงแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มักจะมีรูปแบบของปัญหาที่เฉพาะตัว ทำให้การพัฒนา Application ในอนาคตนั้นอาจต้องมีการรวบรวมประมวลผลข้อมูลสำหรับแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป และมีการตอบสนองต่อโลกความเป็นจริงที่เหมาะสมต่อแต่ละพื้นที่ด้วย
  2. Distributed Content การสร้าง รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ Content นั้นจะต้องเกิดขึ้นอย่างกระจายตัวยิ่งกว่าเดิม เพราะข้อมูลจาก Sensor, กล้อง และอุปกรณ์อื่นๆ นั้นจะมีปริมาณมหาศาลมากยิ่งขึ้นและมีการติดตั้งใช้งานกระจายตัวในหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในขณะที่การตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือความต้องการต่างๆ ด้วยข้อมูลเองก็จะเกิดมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
  3. Critical Data Processing จากเดิมที่ Application มักถูกใช้เพื่อบริหารจัดการหรือตอบสนองต่องานด้านข้อมูลเป็นหลัก ในอนาคตจะเริ่มเกิด Application ที่ต้องการความแม่นยำในการควบคุมมากขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตหรือทรัพย์สินโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นระบบผ่าตัดทางไกล, ยานยนต์ไร้คนขับ

แนวโน้มเหล่านี้ได้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า Cloud เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ต่อ Application แห่งอนาคตได้ และการเติมเต็มให้ Cloud สามารถตอบโจทย์ด้านการกระจายตัวของข้อมูลและการประมวลผลให้ดียิ่งขึ้นได้นั้น ระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่และ 5G คือกุญแจสำคัญ

ระบบเครือข่ายแห่งอนาคต เพื่อรองรับ Application รูปแบบใหม่

หากพิจารณาในมุมของวัตถุประสงค์ในการวางระบบเครือข่ายนั้น สิ่งที่ธุรกิจองค์กรต้องให้ความสำคัญจะแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่

  1. Service การให้บริการระบบเครือข่ายเพื่อรองรับ Application หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยต้องมีทั้งความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนใช้งาน, ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้โดยยังคงเชื่อมต่อเครือข่ายได้, มีความมั่นคงทนทานและความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย
  2. Data มีการปกป้องข้อมูลให้มั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน รวมถึงมีการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน
  3. Environment คำนึงถึงการใช้พลังงานในการเชื่อมต่อเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตอุปกรณ์ที่จะต้องเชื่อมต่อเครือข่ายนั้นจะมีปริมาณมหาศาลกว่าอดีตหรือปัจจุบันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังต้องมีการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้ระบบเครือข่ายสามารถใช้งานได้
  4. Social & Economic การวางเครือข่ายให้บริการต่างๆ สามารถถูกเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเป็นสากล และการสร้างผลกระทบเชิงสังคมและเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีที่มากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ในข้อ 1. และ 2. นั้นเป็นสิ่งที่เหล่า IT Manager, Network Engineer และผู้ดูแลระบบ IT นั้นมักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับข้อ 3. และ 4. นั้นถือเป็นวัตถุประสงค์ใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามา ซึ่งการออกแบบระบบเครือข่ายในอนาคตก็ต้องมีการพิจารณาถึงประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติมกันให้ดีด้วย

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ข้างต้น รวมกับความต้องการของระบบ Application ในอนาคตแล้ว ระบบเครือข่ายในอนาคตจึงสามารถจำแนกบทบาทให้กับแต่ละเทคโนโลยีเครือข่ายได้ดังนี้

  • Fixed Network ใช้ Fiber และ LAN เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency ต่ำ สำหรับอุปกรณ์หรือระบบที่ไม่ได้ต้องการเคลื่อนย้ายตำแหน่ง เช่น Data Center, Server, อุปกรณ์ Network/Security
  • Wi-Fi เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency สูงขึ้นกว่า Fixed Network เพื่อแลกกับความง่ายในการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของอุปกรณ์ เช่น PC, Notebook, Smartphone, Tablet และอุปกรณ์ IoT บางส่วนในองค์กร
  • 5G Private Network เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency ต่ำสำหรับพื้นที่ครอบคลุมขนาดใหญ่ ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร ไปจนถึงพื้นที่บริเวณกว้างระดับเขต จังหวัด หรือภูมิภาค เพื่อรองรับการใช้งาน Smartphone, Tablet, IoT, Robot และระบบอื่นๆ รวมถึงเสริมการประมวลผลภายในเครือข่ายโดยตรงด้วยการใช้ 5G MEC เข้ามาเติมเต็มความสามารถของ Cloud

จากมุมมองดังกล่าว จึงอาจสรุปได้ว่า ภาพรวมของระบบเครือข่ายในอีก 10 ปีนับถัดจากนี้ เทคโนโลยีอย่าง LAN และ Wireless LAN นั้นก็จะยังคงมีบทบาทที่สำคัญอยู่ในฐานะของเทคโนโลยีเครือข่ายหลักสำหรับการวางระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานในภาคธุรกิจองค์กร แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ 5G จะกลายมาเป็นอีกส่วนสำคัญที่เติมเต็มให้กับระบบเครือข่าย เสริมความสามารถใหม่ๆ ที่ระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้มาก่อน เพื่อรองรับ Application ในรูปแบบใหม่ๆ นั่นเอง

AIS Cloud X: บริการ Sovereign Cloud ที่ครอบคลุมถึง 5G และ Edge อย่างครบวงจร

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการก้าวสู่การพัฒนา Application รูปแบบใหม่แห่งอนาคตนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายส่วน และเป็นการยากที่ธุรกิจองค์กรแต่ละแห่งจะสามารถรวบรวมองค์ประกอบเหล่านี้เข้ามาใช้งานด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้ AIS Business จึงได้ทำการพัฒนาต่อยอดบริการ Cloud ที่มีอยู่เดิมสู่การเป็น AIS Cloud X บริการ Cloud สำหรับธุรกิจองค์กรไทยที่มาพร้อมกับคุณสมบัติที่โดดเด่น ได้แก่

  • การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทั้งหมดในประเทศไทยแบบ 100% เป็น Sovereign Cloud อย่างสมบูรณ์ ช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของธุรกิจจะถูกจัดเก็บดูแลรักษาในประเทศไทย ให้บริการโดยผู้ให้บริการที่อยู่ภายใต้กฏหมายของประเทศไทยและสอดคล้องต่อข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศไทยเป็นอย่างดี
  • การรองรับการใช้งานได้ในแบบ Omni Cloud ที่ผสานรวมทั้ง Multi-Cloud ที่เชื่อมต่อไปยัง Public Cloud ต่างประเทศได้, Sovereign Cloud ของ AIS ในประเทศไทย, MEC และ Edge ในระบบ ทำให้สามารถรองรับการกระจายตัวของข้อมูลและการประมวลผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องการได้ สอดคล้องต่อความต้องการของระบบ Application ในอนาคต
  • การทำงานร่วมกับ AIS 5G และ AIS 5G Private Network ได้เป็นอย่างดี รองรับการออกแบบระบบสำหรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย พัฒนา 5G Application เพื่อการใช้งานภายในองค์กร และการเปิด Digital Service รองรับลูกค้าทั่วประเทศได้ทันที

ทั้งหมดนี้ทำให้ AIS Cloud X เป็นบริการ Cloud ที่กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งกว่า Cloud ในอดีตที่ผ่านมา และสามารถรองรับต่อความต้องการของธุรกิจในการทำ Digital Transformation สำหรับอนาคตได้

AIS 5G NEXTGen Platform: บริหารจัดการ 5G, Edge และ Cloud ได้จากศูนย์กลาง ตอบโจทย์การทำ Digital Transformation แห่งอนาคตได้อย่างครอบคลุม

เพื่อให้การใช้งาน 5G สำหรับภาคธุรกิจองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน AIS Business จึงได้เปิดบริการ AIS Paragon Platform ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ธุรกิจจะสามารถเข้าไปทำการบริหารจัดการทรัพยากรของโครงข่าย 5G, Edge Computing และ Multi-Cloud ได้ด้วยตนเองจากศูนย์กลาง

ในการใช้งาน AIS 5G NEXTGen Platform นี้ ธุรกิจองค์กรจะสามารถเลือกจัดสรรการใช้งานทรัพยากรของระบบโครงข่าย 5G เพื่อนำมาสร้างเป็น 5G Private Network ของตนเอง และกำหนดค่าการทำงานต่างๆ อย่างเช่น Bandwidth, Network Latency และคุณสมบัติอื่นๆ ให้สอดคล้องต่อการใช้งานที่ต้องการได้เอง

นอกจากนี้ การเลือกจัดสรรทรัพยากรของ Edge Computing ที่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของเครือข่าย 5G เองก็สามารถทำได้จากระบบนี้เช่นเดียวกัน โดยธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งาน AIS 5G MEC, Azure Edge หรือ AWS Outpost ที่ AIS Business ให้บริการอยู่ในแต่ละพื้นที่ได้ เพื่อให้สอดคล้องต่อสถาปัตยกรรมของระบบ Cloud ที่มีการใช้งานอยู่เดิมหรือออกแบบขึ้นใหม่

ทั้งนี้เพื่อให้บริการมีความครอบคลุมครบถ้วนมากยิ่งขึ้น AIS Paragon Platform ก็ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังบริการ AIS Cloud X และบริการ Public Cloud ชั้นนำอย่างเช่น Microsoft Azure หรือ AWS ได้ เพื่อให้การจัดการสถาปัตยกรรมทั้งหมดสำหรับ Application แห่งอนาคตเกิดขึ้นได้จากศูนย์กลาง ทั้ง 5G, Edge และ Cloud ครบจบในระบบเดียว

นอกเหนือไปจากการให้บริการระบบเพื่อให้ธุรกิจใช้งานเองแล้ว ภายใน AIS Paragon Platform นี้ก็จะมีส่วนของ Marketplace และ Ecosystem ด้วย เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนาบริการ cloud ในรูปแบบ SaaS หรือ 5G Application เพื่อมาเปิดให้จำหน่ายบนระบบดังกล่าวทั้งในไทยและในต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน

สนใจใช้งาน AIS Paragon Platform, AIS Cloud X และ Solution เพื่อการ Transform องค์กรธุรกิจของท่านสามารถ ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 14 ธันวาคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที