อัปเดต Smart Solution ที่แก้ไขปัญหา 6 Big Losses ให้ภาคการผลิตได้

               ปัจจุบันการแข่งขันกันในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม นับวันก็จะยิ่งมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้ภาคการผลิตต้องเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการโรงงานและกระบวนการผลิตเกิดความซับซ้อนขึ้นในทุกมิติ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและผลประกอบการของธุรกิจ แต่ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีและนวัตกรรม Smart Solution ต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้การแก้ไขปัญหาเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และลดความสูญเสียที่เกี่ยวข้องลงให้มากที่สุด

               ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องปรับตัว พัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถอยู่ได้ท่ามกลางแนวโน้มการพัฒนาของภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยให้กระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดความบกพร่องต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการผลิตอย่าง “6 Big Losses”

2297486277

รู้หรือไม่ 6 Big Losses ในภาคการผลิตมีอะไรบ้าง

               “6 Big Losses” คือ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและความสูญเสียในกระบวนการผลิต ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต โดยมักนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งเป็นวิธีการวัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรและการผลิตในโรงงาน โดย 6 Big Losses จะประกอบด้วย

               1. ความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรขัดข้อง (Equipment Failure)

               เมื่อเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหลายเกิดปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถทำงานได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการผลิตสินค้า กระทบต่อความสามารถในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจในท้ายที่สุด ดังนั้นทุกครั้งที่เครื่องจักรขัดข้องจนไม่สามารถทำงานได้ จะต้องมีการจดบันทึกถึงสาเหตุและนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

               2. ความสูญเสียที่เกิดจากการปรับการตั้งค่าของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต (Setup and Adjustments)

               การปรับตั้งค่าเครื่องจักร หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละช่วงเวลา สามารถนำมาซึ่งความสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตได้ เนื่องจากว่าเครื่องจักรจะต้องมีการหยุดทำงาน ทำให้สูญเสียโอกาสในการผลิตไปด้วย ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้กระทบต่อกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุด

               3. ความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเครื่องจักร (Idling and Minor Stops)

               ในบางครั้งเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไม่ได้ขัดข้องหรือหยุดการทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น การป้อนชิ้นงานให้กับเครื่องจักรผิดพลาด วัสดุติดขัด การไหลของผลิตภัณฑ์ระหว่างสายพานถูกกีดขวาง การตั้งค่าไม่ถูกต้อง เซนเซอร์ไม่ตรงแนวหรือถูกบล็อก เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้แก้ไขไม่ยาก แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในแต่ละวัน เมื่อนำระยะเวลามารวมกันแล้ว อาจจะทำให้เสียเวลาในการผลิตไปมากกว่าการที่เครื่องจักรขัดข้องจนไม่สามารถทำงานได้เสียอีก ดังนั้นความสูญเสียนี้เจ้าของธุรกิจจะต้องมีความตระหนักและหาวิธีป้องกันแก้ไขให้ได้ เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น

               4. ความสูญเสียที่เกิดจากความเร็วในกระบวนการผลิตลดลง (Reduced Speed)

               ความสูญเสียที่เกิดจากความเร็วในการผลิตลดลง โดยมากมักเกิดจากการที่เครื่องจักรมีการทำงานที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนตามที่วางแผนไว้ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้เครื่องจักรด้อยประสิทธิภาพในการทำงาน วัสดุที่นำมาใช้กับเครื่องจักรไม่ได้มาตรฐานตามที่ควรจะเป็น พนักงานมีความล่าช้าในการทำงาน กระบวนการเปิดและปิดเครื่องที่อาจจะกินเวลามากกว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งความสูญเสียนี้สามารถป้องกันได้หากมีการวางแผนในการจัดการเครื่องจักรและกระบวนการทำงานที่ดีเพียงพอ

               5. ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตชิ้นงานที่ไม่ได้มาตรฐาน และการแก้ไขชิ้นงาน (Process Defects)

               ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตชิ้นงานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ชิ้นงานที่ผลิตได้ไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า หรือชิ้นงานมีความเสียหาย ไม่สมบูรณ์แบบพอที่จะใช้ในกระบวนการผลิตลำดับต่อไป หรือไม่สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ ทำให้เสียเวลาผลิตใหม่ หรือแก้ไขชิ้นงานดังกล่าว โดยทั่วไปข้อบกพร่องเหล่านี้มักจะมีสาเหตุ เช่น จากการตั้งค่าอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการจดบันทึกความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไว้ เพื่อนำไปวิเคราะห์แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

               6. ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากช่วงการเริ่มต้นผลิตชิ้นงานใหม่ (Reduced Yield)

               โดยทั่วไปหลังจากที่มีการหยุดใช้งานเครื่องจักรเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น หลังวันหยุด เครื่องจักรที่ผ่านการซ่อมแซมและนำกลับมาใช้งานใหม่ ในช่วงเริ่มต้นของการผลิต ชิ้นงานที่ได้จากเครื่องจักรอาจจะยังไม่มีความเสถียรและไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ทำให้ไม่สามารถใช้ชิ้นงานนั้นได้ จึงเกิดความสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตได้

1609195771

ทำความรู้จักกับ Smart Solution ที่จะช่วยแก้ปัญหา 6 Big Losses ในภาคการผลิตได้อย่างยั่งยืน

               จากรายงาน “Smart Manufacturing Solutions: Elevate and Expand Your Strategy” ของบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลกอย่าง Gartner ได้ระบุว่า 91% ของผู้นำในภาคการผลิตและอุตสาหกรรม เลือกใช้ “Smart Solution” เข้ามาช่วยให้กระบวนการผลิตสินค้าให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนการดำเนินงานด้านการผลิตของตนให้เป็นดิจิทัล และช่วยแก้ไขปัญหาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตได้

               ตัวอย่าง “Smart Solution” ที่เข้ามาจะช่วยแก้ปัญหา 6 Big Losses ในภาคการผลิตได้อย่างยั่งยืน มีดังนี้

              1. Autonomous Vehicles and Robotics เทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้าไร้คนขับที่สามารถควบคุมเส้นทางในการทำงานได้ เช่น เส้นทางขนส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยควบคุมผ่านระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย

               2. Digital Twins เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเห็นภาพรวมของกระบวนการผลิต หรือชิ้นงานที่จะถูกสร้างขึ้นมา ทำให้สามารถวางแผนหรือวิเคราะห์ความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโรงงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต หรือวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้นได้

               3. Industrial Internet of Things เทคโนโลยีที่นำเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรทุกตัวในโรงงาน เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพตามโจทย์และเป้าหมายการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องการได้

แก้ไขปัญหา 6 Big Losses ให้ภาคการผลิตด้วย Smart Solution จาก AIS Business

AIS Business มุ่งสนับสนุนการทำงานในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความสูญเสียของ 6 Big Losses ต่าง ๆ ที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ด้วย Smart Solution อย่าง “AIS 5G Manufacturing Platform”

โดยระบบ “AIS 5G Manufacturing Platform” มีโซลูชันการทำงานที่สามารถช่วยให้กระบวนการผลิตสินค้าดำเนินไปได้ด้วยความเสถียรและมีประสิทธิภาพ อย่าง

1. Machine Monitoring ระบบที่จะช่วยให้สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรทุกตัวภายในโรงงานได้อย่างเรียลไทม์ มีระบบแจ้งเตือนและรายงานผลการดำเนินงานที่สามารถแสดงผลได้ตามต้องการ

2. OEE Monitoring & MES Module ระบบที่จะช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกตัวในโรงงานที่เชื่อมต่อการทำงานร่วมกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาของ 6 Big Losses ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบ ติดตามการทำงานของเครื่องจักร และรายงานผลข้อมูลได้อย่างละเอียด สามารถนำไปวิเคราะห์ผลเชิงลึกต่อได้ตามต้องการ

3. Energy Management ระบบที่จะช่วยในการตรวจสอบค่าการใช้พลังงานต่าง ๆ ภายในโรงงาน ทั้งในช่วงที่มีการเดินเครื่องจักร และนอกเหนือเวลางาน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่ามากที่สุด

AIS Business พร้อมเปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมในภาคการผลิตไปสู่ “Smart Factory” บริการที่มั่นใจได้ด้วยโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย พร้อมทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมไปถึงแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก และการให้บริการด้าน IoT Solution อย่างครบวงจร สนใจบริการ AIS 5G Manufacturing Platform เพื่อธุรกิจการผลิตจาก AIS Business คลิก

วันที่เผยแพร่ 8 กรกฎาคม 2567

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • Sohini Bagchi, “5 key technology trends that will shape manufacturing this year.”, From:  
    https://www.techcircle.in/2024/01/16/5-key-technology-trends-that-will-shape-manufacturing-this-year

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business