โมเดลแห่งความยั่งยืนของ Smart Retail แนวทางเพื่อยกระดับธุรกิจ

แนวทางเพื่อยกระดับธุรกิจค้าปลีกให้กลายเป็น Smart Retail ที่มีแนวคิดของความยั่งยืนผสมผสานอยู่ด้วย ไม่ใช่การนำเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีมาใส่ไว้ในธุรกิจ แต่เป็นการ “เลือก” ใช้เทคโนโลยีอย่างพอดิบพอดี เพื่อการลงทุนที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้จริง

เพราะในปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นวาระสำคัญระดับโลก ที่หน่วยงานตั้งแต่ระดับองค์กร ไล่มาจนถึงธุรกิจค้าปลีก จะต้องมีเรื่องของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระบุเอาไว้ในแผนการพัฒนาธุรกิจ และหากธุรกิจค้าปลีกต้องการที่จะกลายเป็น Smart Retail ที่มีความยั่งยืนแบบแท้จริง ควรมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนที่นอกจากเรื่องของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้รวมอยู่ในเป้าหมายสูงสุด

ซึ่งจากการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ระบุว่า ธุรกิจค้าปลีกกำลังเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราเร่งจากภาคการท่องเที่ยว โดยมีตัวเลขการเติบโตระหว่างปี 2566-2568 เฉลี่ยอยู่ที่

  • ห้างสรรพสินค้า คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4-5% ต่อปี
  • ดิสเคาน์สโตร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์เซ็นเตอร์ คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3-4% ต่อปี
  • ซูเปอร์มาร์เก็ต คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6-7% ต่อปี
  • ร้านสะดวกซื้อ และมินิมาร์ท คาดว่าจะมียอดขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.5-5.5% ต่อปี
โมเดลแห่งความยั่งยืนของ Smart Retail แนวทางเพื่อยกระดับธุรกิจ

อัปเดตเทรนด์ใหม่กำลังมา ที่ผู้ประกอบการ Smart Retal สมัยใหม่ต้องรู้

แน่นอนว่า Smart Retail สมัยใหม่จะต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทั้งการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล, การใช้ระบบ Omni-Channel, การใช้ระบบ AI และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G แต่การจะสร้างโมเดลของธุรกิจที่มีความยั่งยืนได้ แค่เทคโนโลยีอย่างเดียวยังไม่พอ ผู้ประกอบการจะต้องมีวิสัยทัศน์สำหรับการมองหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อนำพาธุรกิจให้ก้าวทันกับกระแสสังคม และกระแสโลก นั่นคือการหมั่นอัปเดตเทรนด์อยู่เสมอ โดยเทรนด์จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ทันกับความต้องการ

โดยศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยได้ระบุถึง 3 เทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ที่ผู้ประกอบการค้าปลีกไม่ควรพลาด สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นไอเดียสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้

1. เทรนด์รักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เป็นเทรนด์ใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัว และผู้ประกอบการควรรับเอาไปปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของธุรกิจ โดยตามรายงานของศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยได้ระบุว่า “ประเทศไทยติดอันต้น ๆ ของโลก ที่จะมีความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ” สิ่งที่ผู้ประกอบการควรลงมือทำอย่างเร่งด่วนคือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการใช้พลังงานทดแทน และใช้เทคโนโลยีสำหรับช่วยควบคุมการใช้พลังงานภายในธุรกิจ

2. เทรนด์ Wellness Economy

กลับมาอีกครั้งสำหรับเทรนด์ Wellness Economy หรือเศรษฐกิจสุขภาพ ที่ครั้งนี้มาพร้อมกับมูลค่าที่ประเมินว่าจะไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท พร้อมด้วยสังคมผู้สูงวัยที่เพิ่มขนาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยปัจจัยทางความก้าวหน้าด้านการแพทย์ และการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยเอง ซึ่งเทรนด์นี้ยังมีคนวัยหนุ่มสาวที่แสวงหาไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ เพื่อหลีกหนีความตึงเครียด รวมไปถึงผู้ป่วย เช่น โรคซึมเศร้า, โรคออฟฟิศซินโครม, โรคนอนไม่หลับ และโรคกรดไหลย้อน รวมอยู่ด้วย โดยเทรนด์นี้จะนำมาซึ่งความต้องการสินค้าและบริการที่ตอบสนองความสุขได้อย่างทันทีทันใด อย่างตู้กดสินค้าอัตโนมัติ หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น

3. เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์

ความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้บริโภคหลากหลายด้าน อีกทั้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยการทำงานที่แม่นยำ ช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ต้องการประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยแบบใหม่ อย่างผู้ช่วยแนะนำสินค้า ผู้ช่วยออกแบบไอเดียเสื้อผ้า และผู้ช่วยคัดเลือกสินค้าที่สามารถโต้ตอบกับผู้บริโภคได้ เป็นต้น

เริ่มต้นสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ Smart Retail ด้วยเทคโนโลยี AIoT (Artificial Intelligence of Things)

เริ่มต้นสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ Smart Retail ด้วยเทคโนโลยี AIoT (Artificial Intelligence of Things)

ความยั่งยืนกับธุรกิจ Smart Retail เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องมีคู่กัน และมีความสำคัญมากเลยทีเดียว เพราะธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ จะมีห่วงโซ่อุปทานที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ดังนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงเป็นประเด็นที่ควรได้รับความใส่ใจ โดยมีงานวิจัยจาก Normative ได้ระบุว่า ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ โดยที่ผู้ประกอบการก็จะได้รับความคุ้มค่ามากกว่าความยั่งยืน ธุรกิจค้าปลีกจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิม ให้กลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเริ่มต้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ซึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ประกอบการบรรลุถึงเป้าหมายทั้งการเปลี่ยนผ่านองค์กรเป็น Smart Retail ไปพร้อม ๆ กับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ คือ ปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง หรือ Artificial Intelligence of Things (AIoT) เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำอุปกรณ์ หรือเซนเซอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และเพิ่มความชาญฉลาดของ AI ลงไป ทำให้อุปกรณ์หรือเซนเซอร์นั้น ๆ เกิดการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ และเริ่มปฏิบัติการควบคุมอุปกรณ์นั้น ๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และด้วยความสามารถของ AIoT เมื่อเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G จะสร้างเป็นโครงข่ายที่โยงใยถึงกันได้ทั่วร้านค้า หรือแม้แต่ภายในคลังสินค้า ช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของลูกค้าภายในร้าน, พฤติกรรมของลูกค้า, การทำงานของพนักงานภายในร้านค้า และจำนวนสินค้าคงคลัง ด้วยขั้นตอนการทำงานของเซนเซอร์ IoT ที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมด จากนั้น AI จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ออกมาเป็นผลลัพธ์ใหม่ที่ส่งไปถึงผู้ประกอบการ ช่วยให้เกิดการตัดสินใจด้านธุรกิจได้อย่างทันเวลา อีกทั้งยังสร้างสภาพแวดล้อมภายในธุรกิจค้าปลีกได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

นอกจากนี้ AIoT ยังถูกนำไปใช้งานอื่น ๆ ในธุรกิจค้าปลีก ตั้งแต่การช่วยลดปริมาณของเสีย, การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง, การวิเคราะห์ข้อมูลด้านโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า สร้างเป็นประสบการณ์ใหม่อันทันสมัย รวดเร็ว และตอบโจทย์ความต้องการ ช่วยให้ผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดสินค้าหรืออาหารเน่าเสีย

เซนเซอร์ AIoT สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ควบคุมความชื้น, ตรวจสอบคุณภาพอากาศ, ควบคุมอุณหภูมิ และตรวจสอบความเข้มของแสง อีกทั้งโครงข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ทำให้ AIoT เข้าควบคุมการทำงานภายในตู้สินค้า รถขนส่งสินค้า พื้นที่จอดรถ และพื้นที่จัดเก็บสินค้าได้ด้วย และเมื่อของเสียมีปริมาณลดลง การปล่อยก๊าซที่ทำลายสิ่งแวดล้อมก็น้อยลงไปด้วย ความยั่งยืนจึงเกิดขึ้น โดยที่ผู้ประกอบการไม่ได้เสียผลประโยชน์ในทางใดเลย

จะเห็นได้ว่าการสร้างโมเดลแห่งความยั่งยืนของ Smart Retail ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องลงทุนกับอุปกรณ์สมัยใหม่ทั้งหมดในคราวเดียว เพียงเลือกติดตั้งอุปกรณ์ หรือเซนเซอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ และใช้ความสามารถของ AI ให้เกิดประโยชน์ พร้อมด้วยการเลือกใช้บริการโครงข่ายการสื่อสารแบบ 5G ที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจค้าปลีกก็พร้อมที่จะเติบโต โดยที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นความคุ้มค่าที่ได้มากกว่าความยั่งยืน

โดย AIS Business คือ ผู้ช่วยที่ตอบโจทย์ด้านการให้บริการเพื่อก้าวสู่ Smart Retail ด้วยโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย พร้อมทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมไปถึงแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก ทั้งยังให้บริการด้าน ICT Solution และโซลูชันเฉพาะเพื่อภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก อย่างครบวงจร

วันที่เผยแพร่ 05 สิงหาคม 2567

ข้อมูลอ้างอิง

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business