ต้องยอมรับว่าในวันนี้กระบวนการ Digital Transformation เป็นกระบวนการที่องค์กรชั้นนำต่างให้ความสำคัญ เพราะการจะนำธุรกิจเข้าสู่การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง และรักษาตำแหน่งผู้นำในกลุ่มธุรกิจนั้น ๆ ได้อย่างยาวนาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเครือข่ายอันทรงพลังอย่าง 5G ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรม 4.0 หรือ Smart Factory เกิดขึ้น เนื่องจาก IoT ในระบบการผลิตต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยพลังการเชื่อมต่อแบบ 5G ที่ตอบสนองได้ดีทั้งในแง่ความรวดเร็ว ระยะการเชื่อมต่อที่กว้างไกล และยังเต็มไปด้วยความยืดหยุ่น
แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนไม่น้อยยังกังวลถึงเรื่องปัจจัยการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สำหรับการทำ Digital Transformation ในองค์กร จึงนำไปสู่มุมมองที่ว่า 5G ยังเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไปสำหรับการนำมาใช้ในธุรกิจการผลิตของตนเอง แต่สิ่งที่เราจะกล่าวต่อไปนี้คือ Use Case ของการใช้ประโยชน์จาก 5G ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในอุตสาหกรรมการผลิต ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะช่วยเปลี่ยนมุมมองให้คุณได้ว่า 5G และอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้เป็นแค่คอนเซปต์ และไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่เป็นไปไม่ได้ ในทางกลับกันสิ่งนี้กลับเป็นปัจจัยที่จะเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิต และเกิดศักยภาพใหม่ของการผลิตที่เป็นจริงได้
5G กับการสร้าง Smart Factory
ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องยนต์อากาศยานนั้นเป็นหนึ่งในภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร รวมถึงชิ้นส่วนโลหะที่มีความซับซ้อนมากมาย และไม่เพียงแต่จะมีความซับซ้อนเท่านั้น แต่กระบวนการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและโปร่งใส่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ โดยกระบวนการผลิตเครื่องยนต์อากาศยานนั้นจะมีขั้นตอนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงอยู่หลายขั้นตอน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วขั้นตอนเหล่านั้นก็จะเป็นกระบวนการที่จะต้องทำซ้ำ ๆ ซึ่งถ้าบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานยังคงตัดสินใจใช้แรงงานคนในขั้นตอนเหล่านั้นของการผลิต ไม่เพียงแต่จะทำให้บุคลากรแรงงานต้องเผชิญกับความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังทำให้บริษัทคู่ค้าต่าง ๆ ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องของมาตรฐานการผลิตด้วย
MTU Aero Engines บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานในเยอรมนี เข้าใจในอุปสรรคและข้อจำกัดเหล่านี้ดี จึงได้ตัดสินใจทำการ Digital Transformation องค์กร โดยมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของระบบการผลิตให้มีความเป็นดิจิทัลทั้งหมด จนเกิดเป็น Smart Factory ขึ้นมา 5G ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบเซนเซอร์ IoT ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อการทำงานกันได้ และนำไปสู่กระบวนการผลิตประสิทธิภาพสูงที่เป็นอัตโนมัติอย่างแท้จริง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น สามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน และลดเวลาการทำงานลงไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ตรงนี้ถือเป็นหนึ่ง Use Case บทบาทของ 5G ที่น่าจับตามองอย่างมาก เพราะอุตสาหกรรมอากาศยานไทยถือเป็นหนึ่งใน New S-Curve ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ภาครัฐกำลังเร่งส่งเสริมต่อยอดเพื่อจะทำให้ไทยเราเป็นฮับของการผลิตชิ้นส่วนและเครื่องยนต์อากาศยานที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค อีกทั้งไทยเราเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญอยู่แล้ว ในขณะนี้บริษัทต่าง ๆ ได้เริ่ม Digital Transformation องค์กรกันไปแล้ว อีกไม่ช้าโรงงานเหล่านี้จะปรับตัวสู่การเป็น Smart Factory ทั้งหมด และ 5G จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทั้งส่วนยานยนต์และอากาศยานมีศักยภาพและเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่า 5G ไม่ใช่แค่แนวคิดอีกต่อไป แต่กำลังเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันเลยทีเดียว
5G กับวิทยาการ Robot ร่วมปฏิบัติงาน
เรื่องของ Robot หรือหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานนั้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจคิดว่ายังมีข้อจำกัดมากมาย แต่ในวันนี้อุปสรรคและข้อจำกัดของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานได้ถูกแก้ไขลงแล้วด้วยศักยภาพของ 5G จากความหน่วงที่ต่ำทำให้การเชื่อมต่อทั้งส่วน OT (Operational Technology) และ IT (Information Technology) มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ทำให้การใช้งานหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานในพื้นที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม
Use Case ที่มีการเริ่มใช้งานจริงซึ่งเป็นรูปธรรมในประเทศไทยของเราเลยก็คือ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้ารายใหญ่ที่ได้มีการใช้ทั้งหุ่นยนต์แขนกลร่วมปฏิบัติงานเข้ามาช่วยในกระบวนการยกกล่องสินค้าขนาดใหญ่ต่าง ๆ ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์ AMR FACoBOT โซลูชันหุ่นยนต์ขนย้ายสินค้าที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ AIS Business สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และบริษัท เลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาและออกแบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ พัฒนาจนกลายเป็นโซลูชันหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานที่สามารถขนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย สามารถทดแทนแรงงานคนและการใช้รถ Forklift ได้เป็นอย่างดี นี่เป็นอีกหนึ่ง Use Case ที่สะท้อนบทบาทของ 5G ที่ชัดเจนและใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความสะดวกและเทคโนโลยีก้าวล้ำแบบนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องเริ่มต้นจากกระบวนการ Digital Transformation เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมขององค์กรและพื้นที่ปฏิบัติงานให้พร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G จึงจะทำให้ระบบต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงได้แบบเป็นรูปธรรม
5G กับการวิเคราะห์คาดการณ์และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
สิ่งที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็คือ การที่เครื่องจักรและระบบการผลิตหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ จากข้อมูลในต่างประเทศมีการประเมินเอาไว้ว่า หากภาคการผลิตต้องเผชิญกับภาวะระบบการผลิตหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อาจต้องสูญเสียรายได้เฉลี่ย 22,000 ดอลลาร์สหรัฐ/นาที[1] หากมองในภาพรวมอาจทำให้ธุรกิจเสียหายเป็นมูลค่ามากถึง 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี[2] เลยทีเดียว หากเราสามารถที่จะวิเคราะห์คาดการณ์ปัญหาของเครื่องจักรและระบบการผลิตล่วงหน้าได้ ก็ย่อมจะทำให้ธุรกิจไม่ต้องสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลเช่นนี้ และเทคโนโลยี 5G เองก็เข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะลดปัญหาในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
Use Case ที่น่าสนใจก็คือ HIROTEC บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ระดับโลก ที่ได้มีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ร่วมกับ IoT Cloud Platform และ Edge Computing เพื่อสร้างระบบ Machine Learning ของตนเองขึ้นมาสำหรับใช้ในการวิเคราะห์คาดการณ์ระบบการทำงานของเครื่องจักรการผลิต ทั้งในแง่ของการวัดประสิทธิภาพการทำงานและการป้องกันการหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้วยพลังของเครือข่าย 5G ทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การตรวจสอบควบคุมเครื่องจักรเป็นไปได้อย่างเรียลไทม์ สามารถที่จะคาดการณ์ความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังช่วยทำให้ทราบด้วยว่าระบบการผลิตมีจุดบกพร่องตรงไหน จุดใดบ้างที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นได้
นี่คือบทบาทการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตของเทคโนโลยี 5G ที่ไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดอีกต่อไป แต่กำลังเกิดขึ้นจริงในองค์กรภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้ดำเนินการ Digital Transformation องค์กรในวันนี้แล้ว ดังนั้นการจะก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตจึงไม่ควรมองข้ามการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยพลังของเครือข่าย 5G และ AIS Business ก็พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งด้วยพลังเครือข่าย AIS 5G ที่ไม่เพียงแต่จะมีคลื่นมากที่สุด แต่ยังครอบคลุมทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด และยังมีทีมงานที่เชี่ยวชาญพร้อมมอบบริการที่ดีและมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจให้คุณอย่างครบวงจรด้วย เราจึงมั่นใจว่าจะเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญเพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยให้เดินหน้าสู่การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์
วันที่เผยแพร่ 8 มีนาคม 2566
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที