Digital Healthcare: โรงพยาบาลกับการยกระดับการรักษาผู้ป่วยด้วยนวัตกรรม

              หลังจากที่ทุกโรงพยาบาลต่างต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และให้บริการด้านการฉีดวัคซีนแก่ผู้คนทั่วโลก พร้อมทั้งมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้ภายในโรงพยาบาล และมีการปรับกระบวนการการให้บริการผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปแล้ว ในปี 2022 นี้ก็ถือเป็นปีที่วงการสาธารณสุขทั่วโลกกำลังจะมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ สู่การนำเทคโนโลยีมาผสานเพื่อรักษาผู้ป่วยกันอย่างเต็มตัวมากยิ่งขึ้น

              สำหรับเทรนด์ที่น่าสนใจทางด้าน Digital Healthcare ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2022 มีด้วยกัน 6 ประการ ดังนี้

1. การสร้าง Customer Experience ใหม่ให้แก่ผู้ป่วย

              โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกได้มีการปรับปรุงด้านการบริหารจัดการและการส่งมอบประสบการณ์ให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้งานหลายแง่มุม

              ประการแรกคือการที่โรงพยาบาลมีการเปิดตัวสู่โลกออนไลน์กันมากขึ้นในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ Web Application, Mobile Application หรือระบบ Chat เพื่อการตรวจสอบข้อมูล การทำนัดหมาย และการจองคิว เพื่อให้การมาใช้บริการเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่โรงพยาบาลเองก็มีข้อมูลในระบบที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น ช่วยให้การวางแผนการให้บริการและการรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างแม่นยำในแต่ละวัน

              สำหรับกระบวนการรอคิวภายในโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งได้นำระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลมาปรับปรุงเพื่อให้การจัดการคิวเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ช่วยให้ผู้ที่รอคิวรักษาสามารถบริหารจัดการเวลาของตนเองได้ดียิ่งขึ้น และตัดสินใจไปเยี่ยมชมหรือใช้บริการส่วนอื่นๆ ของโรงพยาบาล เช่น ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือจุดจำหน่ายสินค้าต่างๆ สร้างรายได้เพิ่มให้กับโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง

              นอกจากนี้ บางโรงพยาบาลก็ได้เริ่มมีแนวคิดในการสร้างชุมชนออนไลน์ของแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยร่วมกัน เพื่อให้เกิดบทสนทนาด้านสุขภาพและสาธารณสุข และเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง หรือการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง

2. การดูแลผู้ป่วยทางไกลด้วย Telemedicine, Robot, IoT และ Wearable Device

              Telemedicine ได้กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการวินิจฉัยและรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผ่านการพิสูจน์มาแล้วท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในฐานะของช่องทางที่ทำให้การรักษาผู้ป่วยสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยรักษาขั้นต้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

              ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีหุ่นยนต์เองก็ได้เริ่มถูกนำมาใช้ในวงการการแพทย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ช่วงแรกที่มีการใช้หุ่นยนต์และโดรนในการรับส่งเวชภัณฑ์ ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับการผ่าตัดทางไกล เพื่อให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถทำการผ่าตัดผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วโลกได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางหรือสถานที่อีกต่อไป

              การนำอุปกรณ์ IoT และ Wearable Device ร่วมกับโครงข่าย 5G มาใช้ในทางการแพทย์ก็เป็นกรณีที่เห็นได้ทั่วไปมากขึ้น ทั้งในแง่ของการใช้ติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย, การเฝ้าระวังการล้มในผู้สูงอายุ ไปจนถึงการที่อุปกรณ์การแพทย์จำนวนมากได้เริ่มผสานเทคโนโลยี IoT เข้าไปเป็น IoMT หรือ Internet of Medical Things [1] สำหรับใช้ติดตามอาการและรักษาผู้ป่วยภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งอาจเป็นผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยๆ ในขณะที่แพทย์เองก็ยังคงได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่โรงพยาบาลจะสามารถให้บริการผู้ป่วยได้นั่นเอง

3. การเสริมสุขภาพให้คนวัยทำงานด้วย Digital Wellness

              อีกหนึ่งบริการที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมากนั้นก็คือการเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับพนักงานของธุรกิจองค์กรต่างๆ ในแบบ Digital Wellness [2] โดยมีโรงพยาบาลเป็นผู้ให้บริการหรือลงทุนในธุรกิจ Startup ด้านนี้ โดยอาจมีการให้บริการผ่าน Mobile Application, IoT หรือ Wearable Device อย่าง Smart Watch สำหรับการติดตามและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับพนักงาน

              การให้บริการ Digital Wellness นี้สามารถครอบคลุมได้ทั้งในส่วนของสุขภาพกายและใจ เช่น App สำหรับแนะนำการเล่นโยคะ, การเต้นแอโรบิค, การตรวจสอบภาวะ Office Syndrome, การทำสมาธิ, การตรวจสอบสุขภาพจิต, การตรวจสอบอาการซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งโรงพยาบาลหรือผู้ให้บริการระบบ Digital Wellness ก็สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานเพื่อให้คำแนะนำหรือแจ้งความผิดปกติที่อาจตรวจพบได้ ไปจนถึงใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอบริการอื่นๆ ของโรงพยาบาล

              บริการในลักษณะนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจที่มีการทำงานในแบบ Hybrid Work เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้โดยไม่เครียดจนเกินไปหรือทำงานหนักจนเสียสุขภาพ สร้างความยั่งยืนให้กับบุคลากรคนสำคัญขององค์กรได้อย่างคุ้มค่า

Web

4. AI และ Big Data สำหรับการรักษาผู้ป่วยและบริหารจัดการโรงพยาบาล

              การใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขเพื่อช่วยทำนายแนวโน้มที่เกี่ยวข้องและรักษาผู้ป่วยนั้นกำลังกลายเป็นทิศทางสำคัญของวงการ [3] ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งนั้นจึงได้เริ่มมีทีมเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้โดยเฉพาะ สำหรับการให้บริการผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และการสร้าง Digital Service เพื่อให้โรงพยาบาลอื่นๆ ได้สามารถนำไปใช้งาน

              แนวโน้มดังกล่าวนี้ได้ทำให้การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่กลายเป็นโจทย์ที่สำคัญของโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงพยาบาลที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบ Image Processing สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อตรวจหาโรคหรือวินิจฉัยอาการใดๆ เพราะข้อมูลเหล่านี้มักจะมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก ในขณะที่โรงพยาบาลเองก็ต้องให้ความสำคัญกับประเด็นด้านการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยให้ดีด้วย

              นอกจากนี้ โครงการด้านการผสานข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ ภายในโรงพยาบาลก็เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะเมื่อโรงพยาบาลต้องการสร้างคุณค่าใหม่ๆ จากข้อมูล การผสานระบบเพื่อให้เกิดการรวมศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ร่วมกันได้จึงเป็นโจทย์สำคัญ อีกทั้งยังสามารถใช้ต่อยอดเพื่อทำ Automation ให้กับกระบวนการต่างๆ ภายในโรงพยาบาลได้อีกด้วย

5. การประยุกต์ใช้ Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR) และ Digital Twins ทางการแพทย์

              การมาของ Metaverse ได้เป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีด้าน AR และ VR เกิดกรณีการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น [4] จากเดิมทีที่เทคโนโลยีเหล่านี้มักถูกใช้เพื่อฝึกอบรมแพทย์เป็นหลัก ก็ก้าวมาสู่การประยุกต์ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยอย่างเช่นการใช้ฝึกทักษะต่างๆ ให้กับเด็กที่มีอาการออทิสติก การทำกายภาพบำบัด การรักษาผู้ป่วยโรคเครียด และอื่นๆ อีกมากมาย

              ส่วน Digital Twins เองก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจในงานวิจัยด้านการแพทย์ ด้วยการจำลองร่างกายมนุษย์และการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อใช้ในการทำ Simulation หรือการจำลองในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจำลองการใช้ยาและตรวจสอบการตอบสนอง หรือการจำลองการรักษาผ่าตัด และการมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งก็ถือเป็นแนวโน้มที่น่าจับตามองไม่น้อย

6. การเสริม Cybersecurity และ Data Privacy ทั่วทั้งวงการ

              เมื่อโรงพยาบาลทั่วโลกกำลังปรับไปสู่การเป็น Smart Hospital และดูแลรักษาผู้ป่วยในแบบ Digital Healthcare การปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบ IT เบื้องหลัง และการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ป่วยจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกรณีของการที่ผู้ประสงค์ร้ายทำการโจมตีระบบ IT ของโรงพยาบาล หรือมีการแพร่ Ransomware จนทำให้ข้อมูลสำคัญของโรงพยาบาลเสียหายไปแล้วมากมาย

              โรงพยาบาลวิมุต กับการทำ Digital Transformation ครั้งใหญ่ ปรับสู่การรักษาผู้ป่วยแห่งอนาคตใน Smart Hospital

              สำหรับในประเทศไทย หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจนั้นก็คือการทำ Digital Transformation ของโรงพยาบาลวิมุต เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Smart Hospital และให้บริการผู้ป่วยได้ด้วยเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว

              ภายในการพลิกโฉมครั้งนี้ โรงพยาบาลวิมุตได้วางกลยุทธ์ในการให้บริการผู้ป่วยด้วย Mobile Application ของโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถให้บริการ Digital Service ที่หลากหลายแก่ผู้ป่วยได้อย่างสะดวกสบาย การพัฒนาระบบให้บริการวัคซีน รวมถึงยังมีระบบ Telemedicine เพื่อให้บริการผู้ป่วยทางไกลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะเดินทางมายังโรงพยาบาล หรือต้องการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องได้

              ในขณะเดียวกัน เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยให้ได้อย่างทั่วถึงและเป็นระบบ ทางโรงพยาบาลวิมุตไปปรับไปสู่การใช้ระบบ Cloud Contact Center ทำให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้ในหลากหลายช่องทาง พร้อมข้อมูลแวดล้อมประกอบการให้บริการและตอบคำถามต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ

              ไม่เพียงแต่การพัฒนาทางด้าน Digital Service และเทคโนโลยีเพื่อการให้บริการผู้ป่วยเท่านั้น แต่ภายในโครงการดังกล่าวนี้ยังได้มีการยกเครื่องอัปเกรดระบบ IT Infrastructure ครั้งใหญ่เพื่อให้การนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้งานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการนำระบบโครงข่าย 5G มาใช้ภายในโรงพยาบาล และการปรับวิสัยทัศน์การลงทุนด้าน IT ด้วยการหันไปใช้บริการในแบบ Managed Services ในการบริหารจัดการระบบเครือข่ายและ Data Center เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น และบุคลากรฝ่าย IT ของโรงพยาบาลสามารถปรับไปสู่การทำงานเชิงรุกเพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้นไปด้วย

              ด้วยอุตสาหกรรมสาธารณสุขและโรงพยาบาลนั้นถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในระดับชาติ ทาง AIS Business จึงได้ผสานนำ 5G มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมไปสู่การทำ Digital Healthcare เปลี่ยนโรงพยาบาลแบบดั้งเดิมให้กลายเป็น Smart Hospital เสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงสู่สังคมไทย ดังกลยุทธ์ 5 ประการทางด้าน 5G ที่ AIS Business ได้ประกาศเอาไว้ในปี 2022 ได้แก่

  1. เชื่อมต่อ 5G Ecosystem เพื่อการทำงานของภาคธุรกิจอย่างรอบด้าน
  2. ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network
  3. มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม
  4. เสริมอาวุธด้านการตลาด และเพิ่มโอกาสการเติบโตด้วย Business Big Data
  5. ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพ

สนใจเทคโนโลยี AIS 5G และ Digital Healthcare ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 18 สิงหาคม 2565

Reference

  1. Ivan Dunskiy, “8 NEW HEALTHCARE TECHNOLOGY TRENDS TO TRACK IN 2022”, From: https://demigos.com/blog-post/major-healthcare-technology-trends/
  2. Robbie Richards, “Rising Trends in Digital Health: 5 Technologies That Will Define the Future of Healthcare”, From: https://masschallenge.org/article/digital-health-trends
  3.  Bohdana Muzyka, “Top Health Tech Trends for 2022”, From: https://www.techmagic.co/blog/top-health-tech-trends/
  4.  Bernard Marr, “The Five Biggest Healthcare Tech Trends In 2022”, From: https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2022/01/10/the-five-biggest-healthcare-tech-trends-in-2022/?sh=6238fcae54d0

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที