เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไว ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ องค์กรชั้นแนวหน้าของโลกต่างปรับตัวและให้ความสำคัญมากกับกระบวนการ Digital Transformation เพราะยิ่งปรับตัวไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำได้เร็วแค่ไหน โอกาสที่จะรักษาตำแหน่งหรือก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจก็ยิ่งมากขึ้น จึงต้องกล่าวว่าความก้าวล้ำของดิจิทัลเทคโนโลยีมีความหมายอย่างมากต่อการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร ยิ่งเทคโนโลยีมีความสามารถมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งเป็นปัจจัยส่งให้องค์กรต้องเร่งปรับให้เร็วขึ้นด้วย การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังล้ำหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไร เรามาวิเคราะห์สถานการณ์ไปด้วยกัน
เทรนด์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งอิทธิพลต่อภาคธุรกิจ
1. เทคโนโลยีก้าวกระโดดตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรม McKinsey ได้มีการประเมินว่า ณ ปัจจุบันองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ราว 70% มีการใช้งาน Cloud system ทั้ง Hybrid Cloud และ Multi Cloud ด้วยบทบาทและความสำคัญที่มากขึ้นของ Cloud ทำให้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการเชื่อมต่อและการทำงานบน Cloud ที่มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ประสิทธิภาพการเชื่อมต่อแบบ 5G ก็ตอบสนองการทำงานบน Cloud ขององค์กรต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะความเร็วของเครือข่าย 5G ในปัจจุบันก็เหนือกว่าการเชื่อมต่อแบบ 4G LTE ถึง 10 เท่า แต่ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มีการคาดการณ์ว่าจะมีการสร้างและส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นจาก 64.2 Zettabytes ในปี 2020 เป็น 180 Zettabytes ( 1 Zettabytes = 1 พันล้าน Terabyte ) ภายในปี 2025 [1]
สิ่งที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์นี้สะท้อนการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะจะนำมาซึ่ง Bandwidth การเชื่อมต่อประสิทธิภาพสูงในราคาที่ถูกลงกว่าเดิมมาก ช่วยให้ข้อจำกัดของการประมวลผลชุดข้อมูลขนาดใหญ่ลดลงจากเดิมได้มาก และเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีรูปแบบการพัฒนาไปแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ จะนำไปสู่ประสิทธิภาพการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้ แต่จุดเริ่มต้นก็ต้องมาจากการที่องค์กรต้องสร้างแรงจูงใจให้กับทุกฝ่ายในองค์กร ผ่านกระบวนการ Digital Transformation ปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้จะทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นโอกาสและอนาคตข้างหน้าร่วมกัน ก็จะทำให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมจนบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ
2. พัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าใหม่ไม่หยุดนิ่ง
McKinsey ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า เทคโนโลยี AI, ระบบ Machine Learning, เทคโนโลยีหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม จะพัฒนาและมีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10 เท่าภายในปี 2025 [2] ซึ่งถ้ามองกัน ณ ปัจจุบัน การคาดการณ์นี้ดูจะไม่เกินจริงเลย เพราะเมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภาคธุรกิจก็ย่อมที่จะไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาตนเอง ขณะเดียวกันผู้พัฒนาเทคโนโลยีก็ยิ่งจะแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อมาพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดความอัจฉริยะตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถผลิตสินค้าและบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้ เมื่อทุก ๆ ฝ่ายต่างไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนา จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีความล้ำหน้าและสามารถที่จะแพร่กระจายไปได้เร็ว
เทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งนี้จึงเป็นโจทย์สำคัญของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะหากองค์กรเรียนรู้และพัฒนาช้าไปเพียงก้าวเดียว การรักษาตำแหน่งหรือโอกาสก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำก็จะพลาดไปได้ทันที ดังนั้นภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในวันนี้จึงไม่ควรลังเลที่จะเริ่มกระบวนการ Digital Transformation องค์กร การเปลี่ยนผ่านองค์กรให้พร้อมสำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาธุรกิจ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าและการเติบโตอย่างไม่หยุดนิ่งให้องค์กร
3. เทคโนโลยีไอที คือ โอกาสใหม่ทางธุรกิจ McKinsey ได้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2028 ตลาดผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Cloud ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากปี 2020 มากถึง 952 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว [3] สิ่งนี้สะท้อนว่าเทคโนโลยีไอทีได้แทรกซึมเข้าไปในภาคธุรกิจ และค่อย ๆ ขยายบทบาทความสำคัญทีละน้อย จากส่วนหนึ่งของระบบการทำงาน กลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของระบบข้อมูลในองค์กร และก้าวต่อไปก็คือ ช่องทางและโอกาสใหม่ที่ภาคธุรกิจสามารถประยุกต์ไปสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้ อย่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รันระบบบน Cloud การพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ หรือการพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มระบบร้านค้าปลีกออนไลน์สำหรับผู้ที่ต้องการระบบร้านค้าปลีกสำเร็จรูป
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีไอทีไม่ใช่แค่เพียงเครื่องสำหรับอำนวยความสะดวกใน Core Business ขององค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างโอกาสใหม่ สินค้าและบริการใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้ด้วย แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถค้นพบโอกาสใหม่ทางธุรกิจผ่านเทคโนโลยีไอทีได้ ก็ควรจะต้องเริ่มจากการวางแผนเตรียมความพร้อมองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริงเสียก่อน เพราะ Digital Transformation จะช่วยให้องค์กรมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับการนำเทคโนโลยีไอทีใหม่ ๆ มาต่อยอดนั่นเอง
4. ความทันสมัยต้องมาพร้อมกับความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว แน่นอนว่าความล้ำหน้าและความอัจฉริยะต่าง ๆ ของเทคโนโลยีจะสร้างความตื่นตาและตรึงใจผู้บริโภคได้ องค์กรอาจได้ใจผู้บริโภคไปครองเมื่อมีเทคโนโลยีอยู่ในมือ แต่ในอีกด้านหนึ่งองค์กรก็จะสูญเสียความไว้วางใจของผู้บริโภคทันที ถ้าองค์กรไม่สามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกหรือเห็นได้ว่า ข้อมูลของพวกเขาปลอดภัยและถูกรักษาไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัว เพราะผู้บริโภคยุคนี้ตระหนักถึงสิทธิตัวตนมากขึ้น ขณะเดียวกันพวกเขาก็รับรู้ถึงปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำลังระบาดไปทั่วจนสร้างความหวั่นวิตกให้พวกเขาด้วย
จะเห็นว่าความล้ำหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล จำเป็นจะต้องมาพร้อมกับความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งสิ่งนี้กำลังเป็นเทรนด์ที่ตื่นตัวอย่างมากในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ โดยองค์กรชั้นนำเหล่านั้นต่างเริ่มต้นจากการวางรากฐานด้วยการ Digital Transformation ปรับองค์กรให้มีความพร้อมรองรับเทคโนโลยีความปลอดภัยข้อมูลขั้นสูง ซึ่งไม่เพียงจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานภายในองค์กรที่ต้องทำงานจากระยะไกลเท่านั้น แต่การใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยข้อมูลขั้นสูงยังช่วยสร้างความไว้วางใจกับผู้บริโภคได้ด้วยนั่นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะพบว่า เทรนด์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็วมากทีเดียว และการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ชี้ว่าองค์กรต้อง Up Speed กระบวนการ Digital Transformation ให้ไวขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวไปกับเทคโนโลยีได้ทัน อันจะช่วยให้องค์กรชิงความได้เปรียบทางธุรกิจได้และก้าวอย่างเหนือชั้นเกิดคู่แข่งหลายขั้นนั่นเอง ซึ่ง AIS Business ก็พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจไทยในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล ด้วยบริการโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ด้วยความพร้อมเต็มรูปแบบของ Intelligent Network ,โครงข่าย 5G, Cloud Platforms, และ Cyber Security เพื่อการทำงานของภาคธุรกิจ อีกทั้งยังมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญพร้อมส่งมอบบริการด้าน ICT ให้ภาคธุรกิจอย่างมืออาชีพ จึงพร้อมอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้ทุกองค์กรก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง
วันที่เผยแพร่ 24 พฤษภาคม 2566
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที