ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ถือเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากการมาของภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้ต่างต้องเร่งปรับตัวรับมือกันอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรองรับการรักษาโรคด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้จะเป็นการสรุปเทรนด์ด้าน Digital Health ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในไทย พร้อมทำนายแนวโน้มด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคตหลังจากนี้
1. ก้าวสู่บริการสาธารณสุขที่ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยี
ในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา หนึ่งในภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขนั้นก็คือการเร่งรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งในประเทศไทยนั้นเราก็ได้เห็นการพัฒนาและปรับตัวที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น
โครงการเหล่านี้เป็นเพียงการพัฒนาและปรับตัวส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ก็ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุขเป็นวงกว้าง ในการเปิดรับนำเทคโนโลยีมาใช้ และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมีในการทำงานเพื่อรับมือกับภัยโรคระบาดครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง Mindset ครั้งใหญ่ของบุคลากรในวงการเลยทีเดียว
แน่นอนว่าแนวทางเหล่านี้จะยังคงอยู่กับวงการการแพทย์และสาธารณสุขต่อเนื่องไปอีกหลังจากนี้ แม้ว่าภัยโรคระบาดจะเริ่มคลี่คลายลงแล้วจากการมาของวัคซีนที่ผู้คนทั่วโรคได้รับกัน ดังนั้นการลงทุนด้านระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์นี้ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ Application ทางการแพทย์ใหม่ๆ, โครงการด้าน AI สำหรับการรักษา, การพัฒนาระบบ Telemedicine ให้ต่อยอดมากขึ้นและสอดคล้องกับกระบวนการการรักษามากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการใช้งานระบบ Healthcare Application ผ่านทาง Cloud เพื่อให้กระบวนการการเปิดโรงพยาบาลสนามหรือจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกสถานที่เป็นไปได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นกว่าเดิม
อ้างอิงจากรายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector(1) ที่เผยแพร่มาในเดือนพฤศจิกายน 2021 ได้ระบุถึงผลสำรวจทางด้านเป้าหมายในการลงทุนทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกเอาไว้ดังนี้
นอกจากนี้ในรายงานฉบับเดียวกันยังระบุว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลกมีสัดส่วนการลงทุนของระบบ Software เติบโตยิ่งขึ้นดังนี้
ทั้งหมดนี้ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าในอนาคต อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องก้าวไปสู่การผสมผสานระหว่างการรักษาด้วยวิธีการแบบเดิม พร้อมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างช่องทางและประสบการณ์ใหม่ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขในช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การดำเนินการในโรงพยาบาลนั้นก็จะต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
2. การเร่งลงทุนระบบ IT Infrastructure และ Cloud พร้อมการเปิดรับ Managed Services เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน
แน่นอนว่าในการเปิดรับนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายเข้ามาใช้งานอย่างรวดเร็วนี้ ก็ย่อมทำให้หน่วยงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลนั้นต่างต้องเร่งปรับปรุงระบบ IT Infrastructure เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเร่งด่วน รวมถึงมีการใช้งาน Cloud ที่เติบโตมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถขยายบริการสาธารณสุขในแบบดิจิทัลได้อย่างคล่องตัว
ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น ภาระด้านการดูแลรักษาระบบ IT เหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย แต่การลงทุนจัดจ้างพนักงานฝ่าย IT เพิ่มเติมท่ามกลางวิกฤตและภาวะที่มีการแข่งขันดึงตัวบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้นบริการแบบ Managed Services ที่นอกจากจะทำให้ธุรกิจสามารถลงทุนใช้งานเทคโนโลยีได้โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงแล้ว ก็ยังช่วยให้องค์กรเอาชนะความท้าทายด้านบุคลากรได้ด้วยการที่มีทีมงานผู้ดูแลรักษาระบบมาให้บริการในทุกๆ เทคโนโลยีที่ต้องการได้ทันทีใน Service Level Agreement (SLA) ระดับที่ต้องการ โดยที่องค์กรไม่ต้องมีภาระด้านการจัดจ้างบุคลากรด้วยตนเอง
รายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector (1) ระบุถึงสัดส่วนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในภาพรวมของปี 2021 ทั่วโลกดังนี้
3. เตรียมพร้อมนำ IoT มาใช้ เปิดช่องทางการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย สู่การรักษาในเชิงรุกจากทุกที่ทุกเวลา
เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ก็เป็นอีกกลุ่มเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการนำ Sensor หรือ IoT ไปใช้ปรับปรุงโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถทำงานได้แบบ Touchless ลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย, การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบริการรับส่งอุปกรณ์การแพทย์หรือสิ่งของต่างๆ แก่ผู้ป่วย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ Wearable Device เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยและผู้กักกันตัวโดยอัตโนมัติ ที่จะนำไปสู่ภาพของการรักษารูปแบบใหม่ในอนาคต เช่น Predictive Care, Preventive Care หรือแม้แต่ Personalized Medication ก็ตาม
นอกเหนือจากการที่อุตสาหกรรมนี้จะมีการประยุกต์ใช้งาน IoT รูปแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายแล้ว การพิจารณาระบบโครงข่ายเพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT เหล่านี้ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะการเลือกใช้ระบบโครงข่ายที่เหมาะสมและตอบโจทย์ได้นั้นกจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการต่อยอดเทคโนโลยีในระยะยาว
รายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector ได้เผยผลสำรวจของการเลือกใช้เทคโนโลยีโครงข่ายสำหรับ IoT ดังนี้
สำหรับประเทศไทยที่มีความพร้อมของเทคโนโลยี 5G สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกทั้งในแง่ของความเร็วและพื้นที่ครอบคลุมนั้นก็อาจมีแนวโน้มที่ต่างออกไป ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยก็มีการทดสอบใช้งาน 5G ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยในทางการแพทย์ ก็ได้มีการทดสอบการผ่าตัดระยะไกลผ่านโครงข่าย 5G, โครงการในการใช้ NB-IoT สำหรับติดตาม Smart Wearable Device ไปจนถึงการเชื่อมต่อรถพยาบาลหรือการออกหน่วยสาธารณสุขมากมาย
4. การเสริมประเด็นด้าน Cyber Security และ Data Privacy สำหรับระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและการปกป้องข้อมูลผู้ป่วย
สุดท้าย เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีอย่างหลากหลายภายในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ประเด็นด้านการปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวก็ได้รับความสำคัญสูงยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับบริการทางการแพทย์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยที่มาใช้บริการสาธารณสุข
แรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ประเด็นด้าน Cyber Security ได้รับความสำคัญขึ้นมานั้นก็มาจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น และการใช้งาน Cloud ที่มากขึ้น รวมถึงข่าวสารด้านการเจาะโจมตีระบบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้อุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยก็ตื่นตัวกันมากขึ้นเช่นกัน
ในขณะที่แรงขับเคลื่อนหลักทางด้าน Data Privacy นั้นเกิดขึ้นจากการประกาศพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เคยกำหนดวันบังคับใช้แล้วในปี 2020 ที่ผ่านมา แต่ต้องถูกเลื่อนมาปี 2021 และถูกเลื่อนอีกครั้งไปยังปี 2022 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งก็ทำให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีโอกาสได้ทำการศึกษาและวางแผนตอบรับต่อข้อกฎหมายนี้ได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น
ตัวอย่างโครงการระบบ Digital Health จาก AIS Business ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย
AIS Business พร้อมเป็นผู้ช่วยในการขับเคลื่อนระบบ Digital Health ให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไทย ทั้งด้วยเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI และทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาออกแบบระบบร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยสำหรับหน่วยงานที่กำลังมองหาเทคโนโลยี IoT สำหรับการแพทย์ ทาง AIS IoT ก็พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีที่ครอบคลุมในทุกระดับชั้นของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังนี้
ที่ผ่านมา ทาง AIS Business ได้เข้าไปมีส่วนในการผลักดันการใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมนี้ด้วยกันหลายครั้ง โดยหนึ่งในโครงการที่มีความโดดเด่นก็คือ Digital Yacht Quarantine (2) ที่เกิดจากความร่วมมือของ AIS, สำนักงานส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล (depa), บจ.พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง (POMO) และกลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือและสมาคมเรือยอชต์ไทย ในการใช้เรือยอชต์เป็นพื้นที่กักกันตัวนักเดินทางไปพร้อมๆ กับการสร้างประสบการณ์ในการท่องเที่ยวที่ดีท่ามกลางวิกฤต ด้วยการนำ Smart Tracking Wristband ที่เชื่อมต่อกับ NB-IoT ตรวจวัดสุขภาพของผู้ใส่ ติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้กักกันตัวตลอดช่วงเวลา 14 วันเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยอีกทางหนึ่ง
ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/5G-and-iot
โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขไทย จะเริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้อย่างไร?
สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารสุขไทยที่มีแผนด้านการทำ Digital Transformation สามารถเริ่มต้นเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้ด้วย 3 แนวทางดังนี้
1. การกำหนดเป้าหมาย ลำดับความสำคัญ และกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation
สำหรับปี 2022 นี้ แต่ละโรงพยาบาลและหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขนั้นย่อมผ่านการทำ Digital Transformation กันไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อย เพื่อเร่งปรับตัวในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในระยะยาวนั้นการวางแผนด้านการทำ Digital Transformation ให้สอดคล้องต่อเป้าหมายที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กรนั้นก็จะกลายเป็นโจทย์สำคัญในการดำเนินงานเป็นเวลา 10 ปีนับถัดจากนี้
สิ่งที่แต่ละองค์กรต้องทำนั้นก็คือการกำหนดเป้าหมายในระยะยาวที่ต้องการ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจนต่อการทำ Digital Transformation และวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องต่อช่วงเวลาและงบประมาณที่มี รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ให้เหมาะสมต่อทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงทำการวางแผนในรายละเอียดปลีกย่อยสำหรับแต่ละแผนกเพื่อให้เห็นภาพของการดำเนินโครงการที่แม่นยำ
แน่นอนว่าสำหรับหลายโรงพยาบาล การวางแผนด้านการรักษาและติดตามผู้ป่วยระยะไกลให้ได้นั้นย่อมกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะได้รับความสำคัญสูงสุด เพื่อให้แต่ละแผนกภายในโรงพยาบาลนั้นยังคงทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะเป็นอย่างไร ในขณะที่การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดภาระหน้าที่การทำงานของแพทย์และพยาบาลนั้นก็เป็นอีกโจทย์สำคัญที่จะช่วยให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การนำอุปกรณ์ IoT หรือ Wearable Device มาใช้ในโรงพยาบาลนั้นก็จะยังคงเป็นสิ่งที่แต่ละโรงพยาบาลหรือแต่ละแผนกยังคงต้องศึกษาและทดลองกันต่อไป
2. การเตรียมระบบ IT Infrastructure และศึกษาโครงข่าย 5G ให้พร้อม
การปรับปรุงระบบ IT Infrastructure ขนานใหญ่เพื่อให้รองรับต่อการรักษาในอนาคตและสร้างความเป็นไปได้ในการเปิดโรงพยาบาลสนามหรือจุดรักษาเฉพาะกิจให้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายนั้นก็จะยังคงเป็นอีกโจทย์สำคัญ รวมถึงการวางระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการรักษาทางไกลในอนาคตที่อาจเปิดให้แพทย์สามารถทำการพูดคุยตรวจรักษาหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยจากภายนอกโรงพยาบาลได้นั้นก็จะเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งอาจต้องลงทุนเพิ่มเติมในระบบ Cloud, SD-WAN, Wi-Fi และ Video Conference
นอกจากนี้ สำหรับโรงพยาบาลที่มีแผนการนำเทคโนโลยี IoT และ Wearable Device มาใช้งานในอนาคตสำหรับสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการติดตามและรักษาผู้ป่วย หรือการวางระบบ Smart Hospital การศึกษาแนวทางการนำ 5G ในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป และเลือกใช้งาน 5G ในแต่ละโครงการได้อย่างเหมาะสมทั้งสำหรับการใช้งานภายในโรงพยาบาลและการติดตามผู้ป่วยถึงที่บ้านนั้นก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการในปี 2022 นี้
3. การวางแผนเตรียมบุคลากรให้พร้อม
สุดท้าย การวางแผนด้านบุคลากรนั้นก็ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้โครงการ Digital Transformation ใดๆ ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งท่ามกลางภาวะที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังขาดแคลนอยู่นี้ ก็ได้ทวีความกดดันให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ นอกจากการวางแผนเพื่อเสริมทักษะให้กับบุคลากรภายในองค์กรในการดำเนินโครงการแล้ว การมองหา Partner ที่มีความพร้อมอย่างเช่น AIS Business เข้ามาช่วยก็จะเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยให้โครงการด้านการทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น รวมถึงการเปิดรับบุคลากรในตำแหน่งใหม่ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางด้านดิจิทัลเข้ามาเสริม ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีมาใช้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นไปได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สนใจเทคโนโลยี Digital Health ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที
สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานเทคโนโลยี Digital Health หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้งานภายในธุรกิจโรงพยาบาลและสาธารณสุข สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที
วันที่เผยแพร่ 17 กุมภาพันธ์ 2565
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที