อุตสาหกรรม 4.0 นั้นไม่เพียงแต่จะเป็นแนวคิดในการบูรณาการเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาช่วยบริหารจัดการวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และต้นทุนธุรกิจได้เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบการทำงานทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย อย่างการนำเทคโนโลยี IIoT (Industrial Internet of Things) เข้ามาช่วยยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิต แม้ว่าระบบเดิมจะมีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว แต่การนำความสามารถใหม่ ๆ ของ IIoT เข้ามาช่วยอีก ก็ย่อมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องความปลอดภัยอันจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยที่มากขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติงานและระบบการผลิตทั้งหมดปลอดภัย ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ผู้ประกอบการย่อมได้รับประโยชน์สูงสุด แล้วเทคโนโลยี IIoT จะช่วยยกระดับความปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง
นำมาใช้พัฒนาระบบคาดการณ์อัจฉริยะ
การจะใช้เทคโนโลยีสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตไม่ว่าจะในส่วนของเครื่องจักรหรือในส่วนของคนที่เป็นผู้ปฏิบัติงานก็ตาม ผู้ประกอบการควรเริ่มต้นจากเทคโนโลยีที่ตนเองคุ้นเคย หน่วยงานอย่างสภาความปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NSC) ได้มีการสำรวจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในอเมริกาพบว่า อุปสรรคสำคัญในการนำเทคโนโลยีความปลอดภัยเข้ามาปรับใช้ในสถานที่ปฏิบัติงานก็คือ ผู้ประกอบการมักขาดข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ เทคโนโลยีที่เลือกใช้จะเป็นเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการมักไม่คุ้นเคย[1] ซึ่งปัจจุบันสามารถลดอุปสรรคในเรื่องนี้ได้ เพียงแค่ผู้ประกอบการนำแนวทางของเทคโนโลยี IIoT เข้ามาปรับใช้ร่วมกันกับลักษณะการทำงานที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
1.การติดตั้ง Sensor อัจฉริยะให้กับผู้ปฏิบัติงาน Sensor อัจฉริยะที่จะติดตั้งนี้จะมาในรูปแบบของอุปกรณ์สวมใส่ร่างกาย หรือมาเป็นชุดสวมใส่ปฏิบัติงานอย่าง PPE ที่ภายในจะมีระบบ Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว ตรวจวัดปริมาณออกซิเจน อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิภายนอกและภายใน และความเมื่อยล้า โดยระบบ Sensor นี้จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยี Computer Vision อันเป็นเทคโนโลยีที่มีระบบการทำงานคล้ายกับ AI อาจเรียกได้ว่าเป็น AI อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถจดจำภาพ จดจำรูปแบบ ทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และนำมาวิเคราะห์ความผิดปกติ เมื่อพบความผิดปกติใด ๆ Sensor และ Computer Vision ก็จะทำการส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้กับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเข้าไปในพื้นที่การผลิตที่มีความเสี่ยงสูง และผู้ควบคุมที่อยู่ด้านนอกได้รับรู้ เพื่อให้การจัดการกับความผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
การนำ Sensor อัจฉริยะมาติดตั้งในระบบการปฏิบัติงานของพนักงานถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IIoT ในอีกรูปแบบหนึ่ง อันจะช่วยให้ภาคการผลิตสามารถคาดการณ์ความผิดปกติและโอกาสผิดพลาดในการปฏิบัติงานพนักงานได้ และเมื่อคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ก็จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานและลดความเสียหายของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ด้วย
2.การติดตั้ง Sensor อัจฉริยะให้กับเครื่องจักรการผลิต เป็นการผสานการทำงานระหว่าง Sensor อัจฉริยะแบบ IoT เข้ากับเทคโนโลยี Computer Vision อีกเช่นกัน แต่เป็นการติดตั้งไว้ที่เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์การผลิต และเชื่อมโยงระบบไปยังซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ เสมือนเป็นการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับเครื่องจักรการผลิต ที่นอกจากจะทำหน้าที่ที่ซับซ้อนเกินกว่ากำลังของมนุษย์จะทำได้แล้ว ก็ยังสามารถที่จะตรวจสอบความพร้อมของตนเองและสื่อสารส่งข้อมูลไปยังระบบอื่น ๆ หรือแจ้งเตือนไปยังผู้ควบคุม รวมถึงสามารถที่จะวิเคราะห์ตนเองจากข้อมูลที่มีและรายงานออกมาเป็นการคาดการณ์ให้ผู้ควบคุมได้ทราบถึงสถานะในปัจจุบัน ทำให้ผู้ควบคุมดูแลมีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินได้ว่าถึงเวลาที่จะต้องทำการซ่อมบำรุงหรือหยุดการใช้งานเครื่องจักรแล้วหรือยัง
ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิมที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ เครื่องจักรและระบบคอมพิวเตอร์อาจจะเชื่อมโยงกันอยู่ก็จริง แต่การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์และความผิดพลาดนั้น อาจจะยังไม่แม่นยำพอ เนื่องจาก Sensor ไม่สามารถที่จะส่งข้อมูลทุกชุดไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลได้ หรือถ้าสามารถส่งข้อมูลทุกชุดไปได้ ระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลระดับ Big Data ได้ทัน ทำให้การประมวลผลเกิดความล่าช้าหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย แต่หากว่าองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งระบบเพื่อนำเทคโนโลยี IIoT เข้ามาช่วยอัปเกรดความสามารถของเครื่องจักร รวมไปถึงระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผล ก็จะทำให้การคาดการณ์ความผิดพลาดต่าง ๆ มีความแม่นยำมากขึ้น เมื่อคาดการณ์ได้แม่นยำก็ช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดความเสียหายให้กับอุปกรณ์การผลิตได้ก็เท่ากับเป็นการช่วยลดต้นทุนเรื่องการซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมของอุปกรณ์ไปในตัวอีกด้วย อย่างนี้เป็นต้น
นำมาบูรณาการเรื่องความปลอดภัยแบบครบวงจรให้กับทั้งองค์กร
เทคโนโลยี IIoT ไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับพื้นที่การผลิตที่มีเครื่องจักรเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาบูรณาการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัยในส่วนอื่น ๆได้ทั้งองค์กรเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ติดตั้งระบบตรวจวัดสารเคมีไว้ในพื้นที่กักเก็บสารเคมีอันตรายที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า หากมีการรั่วไหลก็ให้มีการแจ้งเตือนไปยังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการปิดล้อมสถานที่ไม่ให้พนักงานเข้าไปใกล้ในบริเวณดังกล่าว ห้องแล็บและห้องเพาะเชื้อสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยาที่จำเป็นจะต้องระวังการปนเปื้อน ก็สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยที่ทันสมัยเหล่านี้ได้ โดยใช้ Sensor ตรวจจับความผิดปกติทั้งภายนอกภายใน เพื่อไม่ให้สิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดเข้าไปภายใน จนไปสร้างความเสียหายให้กับวัตถุดิบ หรือตรวจจับความผิดปกติภายในที่อาจเกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาบางอย่างในตัวเองของวัตถุดิบ เหล่านี้เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วระบบความปลอดภัยจากเทคโนโลยีอันทันสมัยนี้ ก็ยังสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้ด้วย หากเกิดความผิดปกติกับส่วนการผลิตที่มีแนวโน้มว่าจะส่งอันตรายหรือสร้างความเสียหายมายังพื้นที่บริเวณอาคารอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน อย่างคลังเก็บสินค้า หรือตึกสำนักงาน เทคโนโลยี IIoT ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งหมดก็จะเริ่มทำงานแบบอัตโนมัติทันที ตั้งแต่การแจ้งเตือน การตัดระบบการทำงานของจุดที่มีความเสี่ยงแล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบสำรองเพื่อให้การดำเนินการยังไปต่อได้แบบไม่มีสะดุด การสลับระบบไฟฟ้าจากระบบหลักไปใช้ระบบสำรองที่เตรียมไว้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยี IIoT สามารถที่จะนำไปบูรณาการยกระดับความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ครบวงจรเลยทีเดียว
แน่นอนว่าเทคโนโลยี IIoT สามารถที่จะช่วยยกระดับระบบความปลอดภัยให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะนำ IIoT เข้ามาปรับใช้กับองค์กรและภาคการผลิตทั้งหมดได้ จุดเริ่มต้นก็ต้องมาจากการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของธุรกิจให้พร้อมสำหรับเทคโนโลยี IIoT ที่จะนำมาใช้ เพื่อให้ทุกกิจกรรมการผลิตและการประกอบการอยู่ภายใต้เทคโนโลยี IIoT อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำการสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก คล่องตัว และมีความแม่นยำ ซึ่ง AIS Business พร้อมสนับสนุนการยกระดับระบบความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร ด้วยศักยภาพของเครือข่ายอัจฉริยะ AIS 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยี IIoT สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญในบริการแบบ One Stop ICT Service พร้อมด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบครบวงจร ทำให้เรามั่นใจว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจคุณให้ก้าวไปสู่การเป็น Smart Manufacturing ได้อย่างมีศักยภาพตามที่คุณต้องการแน่นอน
วันที่เผยแพร่ 8 กันยายน 2565
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที