Digital Transformation ก้าวแรกของการปฏิวัติสู่ความเป็น Logistics 5.0

              ในปี 2022 นี้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน และยังมีเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับธุรกิจอุตสาหกรรม รวมไปถึงกระบวนการ Digital Transformation ที่จะต้องเกิดขึ้นในทุก ๆ องค์กรธุรกิจไม่ช้าก็เร็ว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบซัพพลายเชน ในวันนี้เทรนด์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงจาก Logistics 4.0 ไปเป็น Logistics 5.0 อันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น แต่ก้าวแรกที่จะทำให้การปฏิวัติความก้าวหน้าเพื่อเปลี่ยนผ่านยุคสมัยในอุตสาหกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่นก็คือกระบวนการ Digital Transformation ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Logistics 5.0 อนาคตที่กำลังใกล้เข้ามา

              ต้องยอมรับว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ทุกภาคส่วนต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองและต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง Digital Transformation ก็คือ โควิด 19 จากสถานการณ์ที่ผ่านมาส่งผลกระทบไม่น้อยต่อภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ สภาพแวดล้อมที่อยู่ภายใต้กรอบที่จำกัด ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์พบปัญหาที่เป็นจุดอ่อนมากมาย ด้านผู้ประกอบการจึงต้องลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดข้อจำกัดต่าง ๆ ในธุรกิจและทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเมื่อแนวโน้มสถานการณ์โควิด 19 เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จึงมองเห็นว่า Digital Transformation เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตมาได้ และก้าวต่อไปก็คือ การก้าวไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนของธุรกิจโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิด Logistics 5.0 และสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไกลตัว ในทางกลับกันผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ชั้นนำจำนวนมาก ได้เริ่มลงมือขับเคลื่อนตนเองไปสู่การเป็น Logistics 5.0 กันแล้วในวันนี้ เรียกว่านี่คืออนาคตที่กำลังจะกลายมาเป็นปัจจุบันในอีกไม่ช้านี้

เทคโนโลยีดิจิทัลปัจจัยหลักของการยกระดับสู่ Logistics 5.0

              การจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่การเป็น Logistics 5.0 สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นสิ่งแรกเลยก็คือ การให้ความสำคัญในเรื่อง Digital Transformation เพราะโลจิสติกส์ยุคใหม่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นกับซัพพลายเชนในระดับมหภาคนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพราะยิ่งซัพพลายเชนมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น ข้อมูลต่าง ๆ ก็จะยิ่งมากขึ้น และการบริหารจัดการข้อมูลก็จะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งข้อมูลการติดต่อลูกค้า ข้อมูลของสินค้าที่ต้องทำการขนส่ง รวมไปถึงข้อมูลการประเมินผลการดำเนินงานขั้นตอนต่าง ๆ ในแต่ละวัน ซึ่งในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีข้อมูลเหล่านี้ไหลบ่ามาเป็นจำนวนมากในแต่ละวันที่ผ่านไป การจะบริหารจัดการข้อมูลระดับ Big Data แบบนี้หากไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย ก็จะทำให้บริหารจัดการได้ยากและมีโอกาสเกิดความผิดพลาดสูง

              แล้วเทคโนโลยีใดบ้างที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงการดำเนินงานและช่วยเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จากยุค 4.0 สู่ยุค 5.0 ลองมาดูกัน

              1. เทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามามีบทบาทและความสำคัญต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์มากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจเป็นเทคโนโลยีหลักของโลจิสติกส์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เมื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้มีการทำ Digital Transformation ให้กับธุรกิจโดยสมบูรณ์และได้นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้  Blockchain จะช่วยให้ผู้ประกอบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Digital Transaction ได้ ทำให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการข้อมูลได้ดีและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถที่จะนำข้อมูลกระจายออกไปในระบบซัพพลายเชน โดยที่สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ และยังสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูล มีสิทธิ์ระดับใดในข้อมูลนั้น และมีการส่งต่อข้อมูลนั้นไปที่ใดหรือไม่ กระบวนการทั้งหมดนี้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้เองโดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือบุคคลที่สาม ทำให้กระบวนการทำงานของภาคโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานให้ระบบการจัดการคลังสินค้าได้ ข้อมูลมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

              2. เทคโนโลยี 5G ด้วยประสิทธิภาพของ 5G ที่เร็วแรง มีความเสถียร และครอบคลุมมากขึ้น ก็จะช่วยให้ระบบการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำ 5G เข้ามาใช้ร่วมกับ GPS Tracking ก็จะทำให้ผู้ประกอบการติดตามยานพาหนะที่ใช้ขนส่งแบบ Real Time ได้อย่างแม่นยำ ไม่เพียงแต่จะติดตามยานพาหนะขนส่งได้เท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะตรวจสอบประสิทธิภาพของคนขับ ไปจนถึงการติดตามสินค้าแต่ละชิ้นได้ตลอดเวลาด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยให้การควบคุมดูแลการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความเสียหายต่าง ๆ ในกระบวนการขนส่งสินค้า เท่ากับว่าเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจไปด้วย

              3. เทคโนโลยี AI เริ่มมีบทบาทใน Logistics 4.0 แล้ว และต่อไปจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ AI จะเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์หลาย ๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น

  • ช่วยในการตัดสินใจเลือกพาร์ทเนอร์ขนส่ง AI สามารถนำข้อมูลคุณสมบัติของพาร์ทเนอร์ธุรกิจแต่ละรายมาวิเคราะห์เพื่อระบุความเชี่ยวชาญของพาร์ทเนอร์ขนส่งแต่ละรายได้ว่าบริษัทไหนเชี่ยวชาญการขนส่งสินค้าประเภทไหน และทำให้สามารถตัดสินใจเลือกพาร์ทเนอร์ได้ง่ายขึ้น
  • ช่วย Predictive Analytics หรือคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าการจัดส่งสินค้าในแบบต่าง ๆ ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในลักษณะใดได้บ้าง หรือแม้กระทั่งการช่วยเลือกเส้นทางการขนส่งที่ปลอดภัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถหาช่องทางหรือเลือกวิธีป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างนี้เป็นต้น

              4. เทคโนโลยี Automation and Robotization เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดคลังสินค้าแบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Warehouse ได้ ทำให้การบริการจัดการคลังสินค้ามีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และมีความแม่นยำมากขึ้น 

Logistics 5.0 อุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนบ้าง

              แน่นอนเลยว่าการที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังมุ่งหน้าไปสู่ Logistics 5.0 ก็เพื่อให้สอดรับกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวจาก 4.0 สู่ยุค 5.0 แต่ในอีกด้านหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดูรวดเร็วขึ้นเช่นนี้ก็เพราะภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Digital Transformation มากขึ้น ทุกองค์กรและในทุกอุตสาหกรรมต่างมุ่งเน้นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ความเป็นดิจิทัลเต็มตัวเพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมนำมาซึ่งผลลัพธ์ใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากเดิม ซึ่ง Logistics 5.0 ก็มาพร้อมแนวคิด 3 ปัจจัยที่ต้องก้าวไปพร้อมกัน นั่นคือ

  1. ทำงานสอดประสานไปกับมนุษย์ได้
  2. มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
  3. มีความยั่งยืน

              ดังนั้น ทิศทางของโลจิสติกส์ 5.0 จึงไม่ได้มุ่งไปแต่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่กระทบกับคน และต้องนำพาความยั่งยืนมาให้ธุรกิจได้ด้วย เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ต้องสามารถทำงานร่วมกับคนได้อย่างกลมกลืนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ เสริมศักยภาพการแข่งขันและทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย จึงนับว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจ หากใครเริ่มต้นออกสตาร์ทก่อนย่อมนำมาซึ่งความได้เปรียบในเชิงธุรกิจอย่างแน่นอน

              จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Logistics 5.0 ได้ก็คือการทำ Digital Transformation เพื่อให้ภาพรวมของธุรกิจมีความพร้อมสู่การขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งดิจิทัลอย่างเต็มตัว และก้าวแรกนี้เองที่เป็นก้าวสำคัญ หากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในองค์กรไม่มีการวางแผนที่ดี ย่อมนำมาซึ่งอุปสรรคและต้นทุนค่าใช้จ่ายมากมาย

              เริ่มต้นด้วย Solution ง่าย ๆ จาก AIS Business เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ Logistic 5.0 เช่นบริการ Smart Vehicle Management ช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถบันทึกภาพวีดีโอ พร้อมระบบติดตามยานพาหนะผ่าน GPS รองรับมาตรฐาน DLT ของกรมการขนส่งทางบก โดย AIS ทำการติดตั้งกล้องและอุปกรณ์ DVR บนยานพาหนะ พร้อมทั้งมีระบบ Cloud Management เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา ผ่าน Web Portal หรือ Smart Phone ผ่านโครงข่าย AIS ที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย

              บริการเทเลเมติกส์เพื่อองค์กรธุรกิจ ตรวจสอบ ควบคุม จัดการเชื่อมต่อรถยนต์ขององค์กรทุกที่ ทุกเวลา เชื่อมต่อรถยนต์ในองค์กร ด้วยอุปกรณ์ IoT ติดตั้งง่ายด้วยตนเอง บนเครือข่าย 3G/4G ที่ครอบคลุมทั่วไทยจากเอไอเอส และแพลทฟอร์ม V2X Telematics เพื่อบริหารจัดการรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์ใช้งานได้สอดคล้องกับทุกความต้องการของธุรกิจ

              Car Telematics for Business ช่วยให้องค์กร สามารถตรวจสอบ ควบคุม รถที่ใช้งานภายในได้ทันที ภายใต้ต้นทุนจำกัด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดความเสี่ยงจากการขับขี่ที่ไม่พึงประสงค์ ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และสามารถนำข้อมูลเพื่อใช้ปรับปรุงการดำเนินงาน หรือต่อยอดธุรกิจที่สร้างความแตกต่างให้เหนือคู่แข่ง

              AIS Business จึงพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนให้ทุกองค์กรสามารถเดินหน้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยี โซลูชัน และบริการที่หลากหลาย พร้อมทั้งทีมงานระดับมืออาชีพ จึงทำให้เราพร้อมอย่างยิ่งที่จะช่วยผลักดันองค์กรของคุณให้ก้าวไปสู่ยุคใหม่ของอุตสาหกรรมแบบมีศักยภาพตามเป้าหมายที่คุณวางไว้

วันที่เผยแพร่ 1 กันยายน 2565

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที