ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยกำลังกลายเป็นที่จับตามอง จากรายงานของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาประเมินว่า ภายในปี 2565-2567 ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนของประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 3-5% สอดคล้องกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หน่วยงานในกำกับของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า 827.12 ล้านบาท หรือ 9.97% ของการลงทุนในประเทศ
ในปี 2565 ประเทศไทยได้รับจัดการอันดับดัชนีประเทศตลาดเกิดใหม่ด้านโลจิสติกส์ในอันดับ 8 จากความสำคัญที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานโลก เป็นฐานการผลิตที่ดึงดูดนักลงทุน และมีแน้วโน้มว่าจะมีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือ เป็นประเทศที่มีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความพร้อมในการเดินหน้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก นวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำเราไปสู่จุดนั้นได้
ภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย เส้นทางสู่เวทีเศรษฐกิจระดับโลก
ทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย สามารถมองเห็นสัญญาณการเติบโตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศไทยค่อนข้างได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มีจุดเชื่อมต่อกับประเทศจีน และประเทศอินเดีย จึงเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการให้บริการในอนาคต ที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
ดังข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ที่ได้ประเมินว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยภายในปี 2570 จะเป็นรองเพียงแค่ประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรายใหญ่ระดับโลก ส่วนประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ในอนาคตจะมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ จึงสามารถยกระดับศักยภาพของประเทศ ด้วยความพร้อมที่ได้เปรียบทั้งด้านภูมิศาสตร์ และนโยบายในการดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติ
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย ได้ระบุว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีการเติบโตขึ้นถึง 15% เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลมาถึงระบบเศรษฐกิจของไทย อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจขนส่งจึงมีการเติบโตตามพฤติกรรมของผู้โภคด้วย ส่วนภาพรวมทั้งปี 2566 ได้มีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเติบโตไว้อย่างน่าสนใจ ได้แก่
ปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
จากตัวเลขการเติบโตอย่างน่าสนใจของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย ที่ได้รับการจัดอันดับเข้าไปอยู่ใน Top 10 ของดัชนีประเทศตลาดเปิดใหม่ด้านโลจิสติกส์ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างมั่นคง รวมไปถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่ต้องรับมือ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ธุรกิจ
โดยศูนย์วิจัยธนาคารออมสินได้เปิดเผยว่า ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย ได้แก่ การเติบโตขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียน ที่ภายในปี 2569 จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 22% ทำให้ธุรกิจขนส่งพัสดุต้องขยายตัวตามไปด้วย รวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นลำดับ จะส่งผลให้มีการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มมากขึ้น และประเด็นสำคัญ คือ การทำ MOU ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก จะยิ่งส่งเสริมให้โลจิสติกส์ของไทยมีการพัฒนาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ผู้ประกอบการหลายรายจึงเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพในการให้บริการ และขยายพื้นที่ทางการตลาดให้มากขึ้น
ส่วนความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ ท่ามกลางการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์โดยตรง นำไปสู่ความท้าทายใหม่ที่ผู้ประกอบการควรเริ่มพิจารณาใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการบริหารธุรกิจ
นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในปี 2024
นวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในปี 2024 และปีต่อ ๆ ไป จะเป็นการประยุกต์ใช้เพื่อผลลัพธ์ด้านการให้บริการ และช่วยลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เพื่อการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งสำคัญคือเทคโนโลยีจะช่วยลดปัญหาโลกร้อน ปฏิรูปวงการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ใหม่ ให้เป็นแบบยั่งยืน (Sustainable) โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เทคโนโลยีสามารถขับเคลื่อนธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ การศึกษาแนวโน้มเพื่อสนับสนุนแนวคิดทางเทคโนโลยีจึงเกิดขึ้น เพื่อสร้างความชัดเจนว่า เทคโนโลยีใดมีแนวโน้มที่จะกำหนดอนาคตทางธุรกิจ
1. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และระบบอัตโนมัติ (Autonomous System) เข้ามามีบทบาทและสร้างความนิยมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การใช้ยานพาหนะแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดรน และหุ่นยนต์ในคลังสินค้า เป็นต้น และในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งระบบอัตโนมัติและ AI ได้เพิ่มการเรียนรู้และมีศักยภาพมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่ช่วยตอบโจทย์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถให้ไร้ขีดจำกัด ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีต้นทุนด้านแรงงาน และการใช้พลังงานเชื้อเพลิงต่ำลง อีกทั้งสัญญาณของ 5G ยังช่วยป้องกันไม่ให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ หยุดการทำงาน (Downtime) ในช่วงที่สัญญาณมีปัญหา และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมข้อมูลที่สำคัญจำนวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้นในปี 2024 เป็นต้นไป โฉมหน้าของเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามากำหนดเส้นทางอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอนาคต มีแนวโน้มว่าจะได้พบกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในรูปแบบใหม่ ที่มีทั้งความชาญฉลาดและความแม่นยำในการทำงานแทนมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น
1.1 ยานพาหนะส่งสินค้าแบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง เป็นยานพาหนะที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ยังต้องอาศัยการควบคุมของคนขับอยู่บ้าง ไปจนถึงการใช้งานระบบอัตโนมัติขั้นสูง ที่ไม่จำเป็นต้องใช้คนขับคอยควบคุม และล่าสุดด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ได้ช่วยให้การพัฒนาระบบอัตโนมัติได้เข้าสู่การทำงานอย่างเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในทุกสภาพอากาศ โดยที่ไม่ต้องอาศัยแรงงานจากคนขับ และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและพลังงานได้เป็นอย่างดี
1.2 หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้า การพัฒนาที่เพิ่มทั้งความชาญฉลาด และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานแทนที่มนุษย์ภายในคลังสินค้า หรือทำงานต่อจากมนุษย์ได้ เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมากภายในคลังสินค้า หุ่นยนต์สำหรับช่วยขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุกเข้าสู่คลังสินค้า และหุ่นยนต์ช่วยจัดสินค้าภายในคลัง เป็นต้น
1.3 รถยกโฟล์คลิฟท์แบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการยกตักสินค้าภายในคลังสินค้า ด้วยความชาญฉลาดที่สามารถคำนวณน้ำหนักสินค้าได้ และสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ว่า มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเพื่อนร่วมงานอยู่ในรัศมีการทำงานหรือไม่ ช่วยป้องกันการพลิกคว่ำของรถ และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตของผู้ขับขี่ หรือเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2. เทคโนโลยี IoT เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ Internet of Things (IoT) คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพราะเซนเซอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT สามารถใช้เพื่อการควบคุมและติดตามวัตถุต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพได้ อีกทั้งการส่งผ่านข้อมูล จะถูกนำไปประมวลผลและส่งกลับไปเพื่อการแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว สามารถแจ้งสถานะของวัตถุที่ติดตาม ควบคุมการทำงานได้แบบเรียลไทม์และมีความแม่นยำสูง ผู้ประกอบการโลจิสติกส์สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานให้บริการ งานเก็บรวบรวมข้อมูล และงานด้านการรักษาความปลอดภัย เช่น
2.1 การตรวจสอบสถานะของสินค้าทั้งหมดภายในคลังสินค้าว่า มีสถานะอย่างไร ได้รับการขนย้ายหรือยัง หรือการค้นหาสินค้าภายในคลังสินค้าว่าอยู่ในตำแหน่งใด
2.2 สร้างเครือข่ายการขนส่งสินค้าอัจฉริยะ ที่ผู้ประกอบการและลูกค้า จะสามารถติดตามสถานะการจัดส่งได้จากทุกที่ทุกเวลา พร้อมข้อมูลการจัดส่งที่มีความแม่นยำสูง
2.3 ติดตามและควบคุมอุณหภูมิภายในตู้แช่เย็นระหว่างการขนส่งสินค้าแช่แข็งว่า มีสถานะเป็นอย่างไร สินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ และ ณ ปัจจุบันสินค้าอยู่ในตำแหน่งใด
2.4 ติดตามและตรวจสอบการคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมแจ้งสถานะการถูกคุกคามให้ผู้ดูแลระบบ หรือผู้ประกอบการได้ทราบทันทีที่ตรวจพบความผิดปกติ
3. การใช้งานระบบคลาวด์ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่อย่างแม่นยำ เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ให้มีการเข้าถึงข้อมูลที่มีความแม่นยำมากขึ้น ระบบคลาวด์ถูกนำมาใช้งานด้านการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาล และงานด้านการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกที่มีความละเอียดอ่อน การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้จากทุกที่ทุกเวลาจะช่วยให้เกิดความได้เปรียบในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลจากระบบคลาวด์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น การปรับปรุงการให้บริการลูกค้า, การตรวจสอบเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้า, การกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าที่มีความแม่นยำต่อลูกค้า, การตรวจสอบปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่จริงในทุกช่วงเวลา และการศึกษาถึงพฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการโลจิสติกส์สามารถใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในคลาวด์ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อการเข้าถึงลูกค้ายุคใหม่ได้อย่างตรงเป้าหมายด้วย
เรียกได้ว่าอนาคตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ถูกกำหนดด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติ, AI, IoT และระบบคลาวด์ โดยเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต้องการลดต้นทุน พัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืน และที่สำคัญคือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากท่านผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีอันทันสมัย และอยากขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ AIS Business พร้อมสนับสนุนการทำธุรกิจโลจิสติกส์แบบยั่งยืน และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยก้าวขึ้นสู่เวทีเศรษฐกิจโลกอย่างมั่นใจ ด้วยทีมงานที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญ และโครงข่ายอัจฉริยะ พร้อมกับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก เพื่อปูเส้นทางโลจิสติกส์ไทย สู่การสร้างเครือข่ายการขนส่งระดับโลก
สนใจใช้งาน AIS 5G หรือโซลูชันเพื่อธุรกิจขนส่ง และ โลจิสติกส์ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/industries/transportation-and-logistic
วันที่เผยแพร่ 18 ตุลาคม 2566
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที