อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ทั่วโลก กำลังเผชิญความท้าทายสำคัญในการ “เร่งความเร็ว” ยกระดับสู่การเป็น Smart Manufacturing ที่สามารถเกาะติดเทรนด์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรับมือแรงกดดันภายใต้บริบทโลกใหม่ หลังจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกผลักเข้าสู่กระแส New Normal ที่แทบทุกกิจกรรมถูกจัดระเบียบด้วยมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการทำงานรูปแบบเดิมๆ มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการทำงานระยะไกล (Remote Working)
ภายใต้บริบทใหม่นี้ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนของบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งถูกบังคับให้อยู่กับบ้าน และกำลังคน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสายการผลิต (shop floor) ต้องรับผิดชอบเรื่องการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงลึกจากกระบวนการทำงานแบบดิจิทัล ขณะที่ต้องเผชิญหน้าข้อจำกัดสำคัญ เนื่องจาก “โรงงาน คือ ระบบนิเวศน์ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา” จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับพนักงานที่อยู่บ้าน ที่จะสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูล และให้คำแนะนำการปรับปรุงต่างๆ จากข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ โดยขาดมุมมองเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโรงงาน
ดังนั้น จึงนำมาสู่การตีโจทย์ใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิต ในการเพิ่มการลงทุนยกระดับสู่การเป็น Smart Manufacturing และปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่แต่ละคน และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก ในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์กร ครอบคลุมไปถึงลูกค้า และกระบวนการทำงานภายในองค์กร
จับกระแส 5 ความเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิต
ทางด้านเว็บไซต์ IndustryWeek ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ที่ฉายภาพความร้อนแรงของการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตสู่การทำงานแบบดิจิทัลว่า ในปี 2565 จะเป็นปีแห่งโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) อย่างเต็มรูปแบบ จะเห็นการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาปรับปรุง “ภูมิทัศน์ดิจิทัล” ครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ เนื่องจากตระหนักแล้วว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ไม่ใช่แค่เพื่อความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังหมายถึง “ทางรอด” ของธุรกิจอีกด้วย
สำหรับคาดการณ์ 5 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในยุคที่ต้องยกระดับสู่ Smart Manufacturing ประกอบด้วย
“ข้อมูล” ขุมพลังยกระดับการผลิตรับยุคดิจิทัล
ทราบหรือไม่? ในทุก 1 สายการผลิต (Production Line) ของภาคอุตสาหกรรม จะสร้างข้อมูลต่อวันจำนวนมากถึง 70 เทราไบท์ หรือเทียบได้กับจำนวนข้อมูลที่จะใส่ไว้ในสมุดโทรศัพท์ 5 ล้านเล่ม (ที่มา : Industrytoday) ดังนั้นทำอย่างไรที่องค์กรและผู้บริหารจะสามารถพบเจอ “ข้อมูลที่มีคุณค่า (Value data)” เพื่อต่อยอดสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานรองรับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และใช้ประโยชน์ขับเคลื่อนการเติบโต ยกระดับประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิตและบุคลากร ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ตลาด/ลูกค้า เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน นำไปสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
คำเตือนแรกจากกูรูของเว็บ Industrytoday ก็คือ “อย่าหลงทางไปกับข้อมูล (Don’t Get Lost in Data)” อย่าเสียเวลาไปกับการควานหาข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบไร้จุดหมาย เพื่อมองหา “ข้อมูลเชิงลึก (insights)” แต่องค์กรควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ และระดมทีมให้เริ่มจัดระเบียบข้อมูล และกระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถ “ปักหมุด”ปัญหาเฉพาะด้านที่ต้องการแก้ไข และเริ่มทำงานจากจุดนั้น เมื่อทีมตระหนักถึงโจทย์ปัญหาแล้ว ขั้นต่อไปคือ จัดทำหัวข้อชุดข้อมูล เพื่อให้การนำไปใช้แก้ไขปัญหามีความชัดเจนขึ้น
สำหรับก้าวเริ่มต้นสำคัญที่จะทำให้ประหยัดเวลาเพื่อสกัดข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ออกมา ได้แก่ “การปรับวิธีคิด” โดยชี้เป้าว่า ข้อมูลจะช่วยทีมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และช่วยขับเคลื่อนการปรับปรุงธุรกิจให้มีความฉับไวได้แบบเรียลใทม์ ลดความหน่วงในกระบวนการทำงานต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าในแง่ของคุณภาพ (quality) การส่งมอบตรงเวลา (on-time delivery) หรือในแง่มุมการผลิต (production standpoint)
ทั้งนี้ แนวคิดของ “การผลิตที่ทันสมัย (Modern Manufacturing)” จะเห็นชัดขึ้น การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตสู่ดิจิทัล จะมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน บริษัทที่เคย “ตกขบวน” ในการทำดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น กำลังวิ่งตามให้ทันกระแสนี้ โดยจากรายงานของ “2021 State of Manufacturing Report” ระบุว่า 91% ของผู้บริหารในระดับที่เป็นผู้ตัดสินใจของโรงงานการผลิต เดินหน้าลงทุนเพิ่มสำหรับการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในปีนี้ เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในเรื่องข้อมูลแบบเรียลไทม์ การผลิตรวดเร็วขึ้น ส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิผล เพิ่มความชาญฉลาดให้กับระบบการทำงาน ตลอดจนเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ
5G ยกระดับการผลิตยุคทั้งโรงงาน(ต้อง) เชื่อมต่อกัน
โรงงานในยุคการผลิตที่ทันสมัย จะมีสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนสูง อันเป็นผลจากการใช้เครื่องจักร และ Facility ที่ล้ำสมัย ตลอดจนการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์จำนวนมากเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อประเมินการทำงาน บริหารจัดการตารางการผลิต ตลอดทุกกิจกรรมในส่วนการผลิต กระบวนการสื่อสารและใช้งานข้อมูลต้องทำได้รวดเร็ว ไม่สะดุด
เทคโนโลยี 5G จึงเป็นคำตอบที่ “ใช่” ในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านการผลิตที่ต้องการการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง รองรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาล ค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ สนับสนุนการเชื่อมต่อใช้งานระยะไกลได้จำนวนมากของอุปกรณ์ sensor หรือ IoT (Internet of Things) ยืดหยุ่นในการออกแบบเครือข่ายให้เหมาะสม ตามความต้องการของโซลูชั่นในแต่ละอุตสาหกรรม
ด้วยศักยภาพของ “5G Smart Manufacturing Solutions” ที่เป็นการผสานรวมระหว่างขุมพลังของโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ความปลอดภัยสูงสุดมาตรฐานระดับโลกของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด Secure Cloud Infrastructure for Business ซึ่ง CSL จัดตั้งไว้ครอบคลุมทุกภูมิภาคในประเทศ เสริมแกร่งด้วยการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ทั้ง OT (Operation Technology) และ SI (System Integrator) ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมให้บริการโซลูชั่นสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างครบวงจร ทำให้เรามั่นใจว่า สามารถนำเสนอบริการได้ครอบคลุมตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ร่วมเป็นภาคส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยติดปีกขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจการผลิตในยุค 4.0 และการเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกบริบท
วันที่เผยแพร่ 4 เมษายน 2565
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที