5G Private Network คืออะไร? รู้จักกับทางเลือกใหม่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับธุรกิจแห่งอนาคต

ที่ผ่านมาเหล่า IT Manager, Network Engineer และผู้ดูแลระบบ IT ในองค์กรอาจจะคุ้นเคยกับภาพของการออกแบบระบบเครือข่ายภายในองค์กรด้วย LAN และ Wireless LAN เป็นหลัก แต่การมาของ 5G นั้นก็ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับการออกแบบระบบเครือข่ายมากมาย

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทคโนโลยี 5G Private Network ถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีดังกล่าว และแนวทางการเลือกใช้ 5G Private Network ให้เหมาะสมกับงาน พร้อมคำตอบของคำถามที่หลายๆ คนคงมีในใจว่า "ถ้าใช้ 5G Private Network แล้ว เรายังต้องใช้ Wi-Fi ในองค์กรอีกหรือเปล่า?"

รู้จักกับ 5G Private Network

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินเรื่องราวของ 5G ในเชิงของการเป็นเทคโนโลยีที่มาแทน 4G โดยมีทั้งความเร็วที่สูงกว่า, การรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้ดียิ่งขึ้น และความสามารถในการปรับแต่งคุณสมบัติหรือรูปแบบของการเชื่อมต่อโครงข่าย ที่สามารถทำได้อย่างหลากหลาย และรองรับกรณีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปได้ดียิ่งกว่า 4G

อีกสิ่งหนึ่งที่ 5G ได้เพิ่มเติมเข้ามานั้นก็คือ 5G Private Network ซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ธุรกิจองค์กรสามารถใช้ในการออกแบบระบบเครือข่ายเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากการใช้งานเพียงแค่ LAN และ Wi-Fi อย่างในอดีตที่ผ่านมา

แล้ว 5G Private Network คืออะไร? หากจะตอบคำถามนี้โดยสรุปสั้นๆ แล้ว ก็คือการที่องค์กรสามารถใช้งานโครงข่าย 5G ที่ถูกแบ่งออกมาจากโครงข่าย 5G ที่มีให้บริการทั่วไป หรือวางเสากระจายสัญญาณ 5G เพื่อใช้งานภายในธุรกิจองค์กรของตนเองได้โดยไม่ต้องแบ่งช่องสัญญาณกับใคร

แนวทางดังกล่าวนี้จะทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกในการออกแบบระบบเครือข่ายด้วยคุณสมบัติของ 5G ที่เหนือจาก LAN และ Wireless LAN ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น

  • การมีพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ (Coverage Area) ที่ครอบคลุมพื้นที่สูงสุดด้วยรัศมีหลายกิโลเมตร รองรับการใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยสามารถเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมกับความต้องการได้
  • การรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สูงสุดได้เกินกว่า 1 ล้าน Connection ต่อ Base Station
  • การปรับแต่งคุณสมบัติทั้งในส่วนของ Latency, Bandwidth ไปจนถึงการใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ด้วยการทำ Network Slicing

อย่างไรก็ดี หากมองในแง่ของการติดตั้งใช้งาน 5G Private Network นั้น ก็จะยังมีประเด็นที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจอยู่หลายส่วน เช่น

  • รูปแบบของการให้บริการ ที่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5G จะต้องออกแบบวางระบบและดูแลรักษาให้ ต่างจากการใช้ LAN หรือ Wireless LAN ที่ธุรกิจสามารถลงทุนจัดซื้อมาใช้งานเป็นทรัพย์สินของตนเองได้
  • การเลือกใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐาน 5G Private Network ว่าจะใช้ในรูปแบบของการแบ่งสัญญาณจาก Base Station ที่ผู้ให้บริการมีอยู่เดิม หรือการติดตั้งเสา 5G Base Station ใหม่โดยเฉพาะ
  • การเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน 5G Private Network และการเพิ่มเติมระบบอื่นๆ เช่น 5G MEC, Edge Computing หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบมีสายกลับมายังธุรกิจ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และระบบต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย
  • การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับระบบ 5G Private Network ที่ต้องมีการกำหนดการตั้งค่าหรือการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ซึ่งแตกต่างจากการเชื่อมต่อ LAN หรือ Wi-Fi ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ดูแลระบบ IT และระบบเครือข่ายของธุรกิจองค์กรจึงควรเริ่มทำความรู้จักกับ 5G Private Network ถึงจุดเด่นและข้อแตกต่างจากระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม ไปจนถึงรูปแบบหรือเงื่อนไขการใช้บริการและการออกแบบระบบเครือข่ายด้วย 5G Private Network ให้ดี เพื่อให้การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นไปได้อย่างเหมาะสม

การเลือกใช้งาน 5G Private Network ให้เหมาะสม ร่วมกับการใช้งาน LAN และ Wireless LAN ในองค์กร

มาถึงตรงนี้แล้วหลายๆ ท่านอาจเริ่มเกิดคำถามกันแล้วว่า "แล้วการใช้ 5G Private Network จะทำให้ธุรกิจองค์กรไม่ต้องใช้ Wi-Fi อีกต่อไปแล้วหรือเปล่า?" ซึ่งถึงแม้ทุกวันนี้ในการใช้งานอุปกรณ์ Smartphone หรือ Tablet เราก็มักจะมีการเชื่อมต่อ 4G/5G กันแทบจะตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ในการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจองค์กรนั้น คำตอบของคำถามนี้คือ "การมี 5G Private Network นั้นยังไม่อาจทดแทนการใช้ LAN หรือ Wi-Fi ได้ในทุกกรณี"

คุณภุชงค์ เจริญสุข Enterprise Product Marketing Manager แห่ง AIS Business ได้เคยเล่าถึงประเด็นนี้ในงานสัมมนา TTT 2022 Reinforce ด้วยการนำเสนอตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยี 5G Private Network, Wi-Fi และ Fixed Network (LAN) เอาไว้ดังนี้

จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่าข้อดีของ 5G Private Network เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม จะมีดังต่อไปนี้

  • ความมั่นคงปลอดภัยที่สูงยิ่งขึ้น ทั้งด้วยการยืนยันตัวตนเข้าใช้งานเครือข่ายด้วย SIM หรือ eSIM ไปจนถึงระบบเบื้องหลังของ 5G ที่แยกส่วนออกจากระบบเครือข่ายทั่วๆ ไป ยากต่อการถูกเข้าถึงโดยบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • Latency ที่ต่ำ รองรับ Application ที่ต้องการรับส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วหรือตอบสนองในแบบ Real-Time ได้
  • การรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมหาศาลได้
  • พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณขนาดใหญ่ และสามารถเชื่อมต่อใช้งานหรือเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้อย่างยืดหยุ่น
  • การรองรับการใช้งานภายนอกอาคารได้เป็นอย่างดี

ในทางกลับกัน สิ่งที่ระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิมอาจจะยังตอบโจทย์ได้ดีกว่า 5G Private Network เองนั้นโดยหลักก็คือเรื่องของค่าใช้จ่ายในการลงทุน จากปัจจัยดังนี้

  • อุปกรณ์เครือข่ายและการเดินสายที่มีอยู่เดิม สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ทันที
  • อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้งานและอุปกรณ์ IoT แบบดั้งเดิม ก็มักรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi อยู่แล้ว

ดังนั้น การเลือกใช้งาน 5G Private Network จึงควรเลือกพิจารณาจากกรณีการใช้งานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป เช่น ถ้าหากต้องการระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อ PC, Notebook, Smartphone หรือ Tablet การใช้ LAN และ Wi-Fi ก็อาจตอบโจทย์เหล่านี้ได้ดีอยู่แล้วเพราะไม่ต้องมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใดๆ แต่หากต้องการใช้งาน Smartphone หรือ Tablet ในพื้นที่กว้างขวางเป็นจำนวนมาก หรือต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT, เครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ในพื้นที่กว้าง ซึ่งต้องการสัญญาณที่เสถียรครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีการตอบสนองที่ดี การใช้งาน 5G Private Network ก็อาจเหมาะสมกว่า เป็นต้น

AIS 5G Private Network: ตอบโจทย์การเชื่อมต่อ 5G ส่วนตัวสำหรับธุรกิจได้ ในแบบที่คุณต้องการ

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถเริ่มต้นใช้งาน 5G Private Network ได้อย่างง่ายดาย ทาง AIS Business จึงได้นำเสนอบริการ AIS 5G Private Network เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบระบบเครือข่ายสำหรับใช้งานภายในองค์กรที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์ด้านความครอบคลุมของสัญญาณในพื้นที่กว้าง และการรองรับอุปกรณ์จำนวนมหาศาลได้ โดยสามารถทำ Network Slicing เพื่อแบ่งสัญญาณ 5G ออกเป็นหลายส่วน และรองรับรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันได้ตามต้องการ

บริการ AIS 5G Private Network จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • Virtual Private Network ใช้เสาสัญญาณ 5G Base Station ของ AIS ในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อม Shared MEC และ Shared UPF เพื่อแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่เดิมในระบบมาสร้างเป็น Private Network ให้ภาคธุรกิจ ซึ่งวิธีการนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ต่ำทึ่สุด
  • Zoning Private Network สำหรับกรณีที่ต้องการพื้นที่ครอบคลุมที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น ต้องการโครงข่าย 5G Private Network ที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด หรือทั้งภูมิภาค ให้เชื่อมต่อไปยังหลายสาขาของธุรกิจที่อยู่ห่างกันได้ ทาง AIS ก็สามารถสร้าง Zone เฉพาะของธุรกิจขึ้นมาบน 5G Base Station หลายเสาได้ และมี Regional MEC พร้อม Regional UPF ให้ใช้งาน
  • Dedicated Private Network สำหรับกรณีที่ธุรกิจต้องการใช้งานสัญญาณ 5G Private Network เป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สูงสุด และมี Security ในระดับสูงสุด ทาง AIS ก็พร้อมที่จะติดตั้งเสาสัญญาณ 5G Base Station เฉพาะสำหรับธุรกิจนั้นๆ และติดตั้ง MEC รวมถึง UPF ให้เฉพาะสำหรับการใช้งานแบบส่วนตัวได้ด้วยเช่นกัน

ที่ผ่านมา AIS Business มีโอกาสได้เข้าไปร่วมพัฒนากรณีการใช้งาน 5G ใหม่ๆ ให้กับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดกรณีศึกษาที่น่าสนใจหลายส่วน

ตัวอย่างหนึ่งก็คือธุรกิจอุตสาหกรรม ที่เริ่มมีการใช้งาน Dedicated 5G Private Network เพื่อควบคุมเครื่องจักรและยานพาหนะในพื้นที่ทั้งหมดได้จากระยะไกล ทำให้ในพื้นที่ที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตของผู้ปฏิบัติงานนั้นถูกเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติทั้งหมด ทำงานอุตสาหกรรมต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงสุขภาพต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานช่วยบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานฟุ่มเฟือย ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงไปได้เป็นอย่างมาก ทำให้เกิด Solution ใหม่ ๆ อย่าง Smart Autonomous Vehicles Solution for Sustainable Industrial Advancement เป็นต้น

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ ก็คือกรณีของ Somboon Advance Technology ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก ที่ได้เริ่มนำเทคโนโลยี 3D Vision-Robot, AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV จาก Siasun มาใช้ในโรงงาน เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น และจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักเยอะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการใช้ 5G Zoning Private Network ของ AIS เป็นระบบเครือข่ายหลัก เพื่อให้หุ่นยนต์ และระบบการจัดการคลังสินค้า สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัตินี้ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างพร้อมเพียงกันในทุกพื้นที่ของโรงงาน ส่งผลให้การควบคุมสั่งการโดยอัตโนมัติทำงานเชื่อมโยงกันได้ในทุกระบบอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดติดขัด

อีกกรณีที่จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น ก็คือกรณีของ SCG ที่ได้ร่วมมือกับ AIS และ Huawei ในการนำระบบโครงข่าย 5G มาใช้ในระบบขนส่งแบบไร้คนขับจาก Yutong และ Waytous สามารถสั่งการรถบรรทุกเครื่องยนต์ไฟฟ้าจากระยะไกลได้โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม SCG จ.สระบุรี เพิ่มความปลอดภัยให้กับการขนส่งด้วยยานยนต์ขนาดใหญ่ พร้อมสร้างความยั่งยืนด้วยการเปลี่ยนมาสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าในการขนส่ง ลดต้นทุนด้านพลังงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้นถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมแรกๆ ที่จะได้รับประโยชน์จาก 5G Private Network มากที่สุด ทาง AIS Business จึงได้เปิดบริการ AIS 5G Private Network for Smart Manufacturing ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัย

ทั้งนี้ถ้าหากธุรกิจใดสนใจเรียนรู้ถึงกรณีศึกษาและการใช้งานจริงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมบริการต่อยอดอย่างครบวงจร ก็สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 8 ธันวาคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที