เมื่อกระแสเศรษฐกิจโลกในวันนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การดำเนินธุรกิจในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ผ่านมาอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว เป็นสิ่งที่เร่งให้องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation เพราะหากองค์กรไม่ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลก็จะก้าวไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในวันนี้ ที่ผ่านมาองค์กรชั้นนำต่างจับตามองในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคคือข้อมูลที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ประโยชน์ได้ ยิ่งองค์กรไหนมีข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในระดับ Big Data ยิ่งมีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากขึ้น
แต่คำถามสำคัญก็คือ ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ จะสามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ที่มีอยู่มาสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพราะแนวโน้มข้างหน้ามีเพียง Big Data ก็คงไม่เพียงพอ จะต้องก้าวสู่ยุคของ Best Data ที่สามารถนำข้อมูลที่องค์กรมีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้จริง ถึงจะทำให้ธุรกิจมีความเหนือชั้นอย่างแท้จริง และคำตอบของคำถามนี้ก็คือ Digital Transformation
How to เปลี่ยน Data ไปสู่ Insight
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด Big Data ขึ้น ซึ่ง Big Data เป็นเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรเข้าถึง Insight ผู้บริโภคได้ แต่ปัญหาก็คือ องค์กรจะรู้ได้อย่างไรว่าควรโฟกัสตรงส่วนไหนของข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องมีวิธีในการเปลี่ยน “ข้อมูล” ให้เป็น “ข้อมูลเชิงลึก” ซึ่งมีขั้นตอนอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
1.เปลี่ยนมุมมอง แต่เดิม Insight ผู้บริโภคดูจะสัมพันธ์กับงานด้านการตลาดมากกว่างานด้านไอที เพราะเมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ของตลาดก็เปลี่ยนไป ทั้งสองสิ่งจึงดูมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เมื่อจะหาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคจึงต้องไปพิจารณาดูที่ข้อมูลของฝ่ายการตลาด มุมมองในการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้อาจไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลแบบปัจจุบัน เพราะข้อมูลที่องค์กรมีอยู่เป็นข้อมูลระดับ Big Data ที่ไม่เพียงมีปริมาณเยอะขึ้น แต่ยังมีความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นด้วย หากจะแยกแยะข้อมูลที่ซับซ้อนเหล่านี้ออกมาเพื่อทำการวิเคราะห์และนำไปกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่สร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้อย่างแม่นยำ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือ การเปลี่ยนมุมมองโดยหันมาให้ความสำคัญกับบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในฐานะเครื่องมือสำหรับการช่วยแยกแยะและวิเคราะห์ข้อมูล จึงเป็นก้าวแรกที่ผู้บริหารองค์กรต้องตระหนัก
2. Digital Transformation หลังจากตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามาช่วยองค์กรในการค้นหา Insight ผู้บริโภคและลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ เริ่มกระบวนการ Digital Transformation ทั้งองค์กรไปพร้อม ๆ กัน ผู้บริหารองค์กรจะต้องสร้างแรงจูงใจให้ทุกฝ่ายทุกแผนก บุคลากรทุกคน เตรียมพร้อมสำหรับการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง บอกถึงเหตุผลว่า “ทำไมต้องเปลี่ยน” โดยจะต้องโน้มน้าวและชี้ให้ทุกฝ่ายเห็นว่า การเปลี่ยนองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลจะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่เพียงแค่ตัวองค์กร เทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามาช่วยให้ทุก ๆ ฝ่ายทำงานง่ายขึ้นอย่างไร เช่น ถ้าองค์กรมีเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้ได้มาซึ่ง Insight ผู้บริโภคและลูกค้าที่แม่นยำ ก็จะทำให้
3.ปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูล เมื่อมีการ Digital Transformation ทั้งองค์กรแล้ว ต่อมาก็ให้นำโซลูชันและเครื่องมือที่ทันสมัยต่าง ๆ มาช่วยปรับปรุงระบบในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ให้ข้อมูลไม่กระจัดกระจาย มีการจัดเก็บแยกไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้เมื่อจะนำมาวิเคราะห์ก็จะง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยต้องคำนึงถึงเรื่องของ PDPA ด้วย
4.ขับเคลื่อนองค์กรด้วย Digital Insight หลังจากที่องค์กรมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้ว ขั้นต่อมาก็ให้นำเทคโนโลยีประมวลผลขั้นสูงต่าง ๆ มาปรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มากมายและซับซ้อนเหล่านี้ ผลิตผลขั้นสุดท้ายก็จะกลายเป็น “ข้อมูลเชิงลึก” ที่ตกผลึกแล้ว และเป็นชุดข้อมูลที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจองค์กรให้มีศักยภาพที่เหนือคู่แข่งได้
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ ช่วยเปลี่ยน Big ไปสู่ Best
สำหรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น เป็นหนึ่งในกระบวนการที่เรียกว่า “วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์” โดยกระบวนการนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับข้อมูลทางการตลาดและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง AI และ Machine Learning ที่ไม่เพียงจะทำให้ธุรกิจได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในเชิงลึกเท่านั้น แต่ยังทำให้ภาคธุรกิจคาดการณ์สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อนำมาวางแผนกำหนดเป็นกลยุทธ์การตลาดในอนาคตได้อีกด้วย โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ก็คือ
1.ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ
ข้อมูลที่จะเป็น Best Data มีประโยชน์สำหรับธุรกิจอย่างแท้จริง ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์สามารถมอบสิ่งนี้ให้กับองค์กรธุรกิจได้ เพราะการวิเคราะห์คาดการณ์นั้นกระทำโดย AI และ Machine Learning ที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์คาดการณ์ข้อมูลที่เร็วขึ้นและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่มีความแม่นยำมากขึ้นก็จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น
2.ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีความชัดเจน
Best Data ไม่ใช่เพียงข้อมูลที่แม่นยำเท่านั้น แต่ยังจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถที่จะคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นและกำหนดแผนงานให้สอดคล้องกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ได้ เช่น
3.ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมครบถ้วนรอบด้าน
นอกจากจะแม่นยำ ชัดเจนแล้ว Best Data ที่สมบูรณ์ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่ครบถ้วน มีความครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อที่ภาคธุรกิจจะนำไปใช้ในการคาดการณ์ความต้องการที่แท้จริงของตลาดได้ เช่น
นับว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยทำให้องค์กรนำ Big Data มาเปลี่ยนให้เป็น Best Data และทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลที่มีอยู่ในมือนั่นเอง
ดังนั้น Digital Transformation จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำให้องค์กรสามารถก้าวไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลอย่างที่ต้องการ
AIS Business พร้อมเข้ามาให้บริการโซลูชันการตลาดดิจิทัลแบบครบ 360 องศา ด้วยการนำประสบการณ์ด้านงานดูแลลูกค้าทั่วไปมาเสริมกับการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent Data Analytics) โดยอาศัยข้อมูลจาก Business Big Data ของลูกค้ามาบูรณาการในการวางแผนทางการตลาดร่วมกับการสื่อสารไปยังลูกค้าแบบ Omnichannel เพื่อสร้างยอดขายและส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น และผลักดันทุกองค์กรให้ก้าวไปสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขัน ส่งเสริมองค์กรที่ต้องการนำ Big Data มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เหนือชั้นกว่าที่ผ่านมา ด้วยประสบการณ์ด้านการดูแลลูกค้าองค์กร เสริมด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เสริมอาวุธด้านการตลาดและเพิ่มขีดความสามารถใหม่ ๆ ให้กับทุกองค์กร เพื่อให้ภาคธุรกิจไทยสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าด้วยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมสำหรับการแข่งขันที่ท้าทายในอนาคต
วันที่เผยแพร่ 6 ตุลาคม 2565
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที